อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าชุมชนบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก

Main Article Content

กัตตกมล พิศแลงาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างของปัจจัยประชากรศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าชุมชนบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก และ 2) ศึกษาอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าชุมชนบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีประสบการณ์ซื้อสินค้าชุมชนผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติที่ใช้ในการทดสอบเชิงสมมติฐาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าชุมชนบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ส่วนมากเป็นเพศหญิง  มีสถานภาพสมรส  มีอายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัท และมีรายได้เฉลี่ย 20,001 – 30,000 บาท โดยอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าชุมชนบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05  และ 2) อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าชุมชนบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ได้แก่ ด้านความไว้วางใจ  ด้านความเชี่ยวชาญ และด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าชุมชนบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีอำนาจการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 71.6 โดยสามารถเขียนอยู่ในรูปสมการ ได้ดังนี้ Y = 1.121 + 0.435(X5) + 0.423(X2) + 0.317(X1)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพร สว่าง. (2566). การศึกษาโฆษณาผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก (Tik Tok) ที่ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการซื้อสินค้าของกลุ่มผู้ใช้งานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.13(3), 28-43.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิสรา บัวคง. (2561). ความสัมพันธ์ของทัศนคติที่มีต่อผู้ทรงอิทธิพลทางสื่อสังคมกับความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารหลังการดูรีวิว. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัญญาภรณ์ แสงตะโก. (2562). อิทธิพลของ Micro-Influencer ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า High Involvement ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล. วารสารนิเทศศาสตร์. 37(2), 31-40.

ทัศนีย์ ศรีสวัสดิ์. (2557). อิทธิพลของการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงอ้างอิงและชื่อเสียงของตราสินค้าที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าของตราสินค้ากระเป๋าแบรนด์หรูหราของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลดาอำไพ กิ้มแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคจากสื่อโฆษณาประเภทวีดีโอผ่านผู้ มีอิทธิพลบนสังคมออนไลน์. การค้นคว้าอิสระ บธม.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันวิจัยเกียรตินาคิน. (2565). แนวโน้มการเติบโตของ e-commerce ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2566, จาก https://www.thaipublica.org/2021/08/kkp-research34/Priyakorn

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2564). รายงานผลตลาดออนไลน์ ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566, จาก https://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_admin_sum/news_survey-042564.pdf

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). ETDA เผยผลสำรวจพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย ในปี 2565 สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566, จาก https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

สิริชัย ดีเลิศ และ สุภาวดี รัตนพงศ์พันธ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้บริโภคตลาดเฉพาะกลุ่ม. Veridian E-Journal. 11(1), 2405-2424.

สุภานัน เลาหมี่. (2565). พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของคนวัยทำงานในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระ บธม.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาลี ปรียากร. (2564). วิธีการเล่าเรื่องที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคกรณีศึกษา บังฮาซัน อาหารทะเลตากแห้ง จ.สตูล. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 6(1), 33-44.

Jackson, V. P., and Lee, M. Y. (2010). Generation Y in the global market: a comparison of South Korean and American female decision-making styles. Journal of the Korean Society of Clothing and Textiles, 34(6), 902-912.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.

Translated Thai References

Ali. (2018). Hasun Dried Seafood: The Effectiveness of Social Media Storytelling in Purchasing Decisions of Consumers. Journal of MCU Social Development. 6(1), 33-44. (in Thai)

Chanisara, B. (2018). Relationships between consumer attitudes towards influencer on social media and intentions to use the restaurant service after view Thai consumer reviews. Independent Study. (Master of Business Administration, Srinakharinwirot University). (in Thai)

Chanyaporn, S. (2019). The Influence of Micro-Influencer on the Decision to buy High Involvement product (Personal Car). Journal of Communication Arts. 37(2), 31-40. (in Thai)

Chuaychunoo, P. (2017). Factors affecting consumer buying decisions about goods on social media. Independent studies, Master of Business Administration. Thammasat University. (in Thai)

Kanlaya, V. (2006). Statistics for Research (7thed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Kotchaporn, S. (2023). The Study of Advertising in Tik Tok Application Affecting on Buying Impulse of Users in Udon Thani Province. NEUARJ NEU Academic and Research Journal. 13(3), 28-43. (in Thai)

Ladaampai, K. (2017). Factors Affecting Consumer Intentions of Video Advertising Trough Online Social Influence. Independent studies. (Master of Business Administration, Thammasat University). (in Thai)

Sirichai, D. and Supawadee, R. (2018). The Factors that Influence Consumer with Purchasing Decisions Process of E-Commerce Market Niches. Veridian E-Journal. 11(1), 2405-2424.

Supanan, L. (2022). The Behavior of Online Shopping Through the Application TikTok of Working People in Samut Prakan. Independent studies. (Master of Business Administration, Ramkhamhaeng University). (in Thai)

Tassanee, S. (2014). The Influence of Celebrities References and Brand Reputation Toward Perceived Brand Image and Perceived Brand Value of Luxury Brand Handbag among Working Women in Bangkok Metropolitan Area. Independent studies. (Master of Business Administration, Bangkok University). (in Thai)

Electronic Transactions Development Agency. (2022). ETDA reveals the results of a survey of Thai people's internet usage behavior in 2022. Retrieved 20 August 2023 from https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final .pdf.aspx (in Thai)

Office of Trade Policy and Strategy. (2021). Online market report 2021. Retrieved 15 August.2021. From https://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_admin_sum/news_survey-042564.pdf (in Thai)

Kiatnakin Research Institute. (2022). Growth trends of e-commerce in Thailand. Retrieved 27 August. 2023 from https://thaipublica.org/2021/08/kkp-research34/ (in Thai)