ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ จํานวน 300 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงแบบวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของนักศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์นิเทศก์กับนักศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างครูพี่เลี้ยงกับนักศึกษา กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และคุณภาพของสถานศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .536 ถึง .676 และ 2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของนักศึกษา (X1) และกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (X4) สามารถร่วมกันทำนายความสำเร็จในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 63.80
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะส่วนบุคคลของผู้เขียนซึ่งต้องรับผิดชอบต่อผลทาง กฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้และไม่มีผลต่อกองบรรณาธิการReferences
เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2558). การชี้แนะ (coaching): ยุทธวิธีสําคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2566, จาก http://www1.nsdv.go.th/innovation/coaching.htm.
บุญเลี้ยง ทุมทอง และ เฉลิมชัย โสสุทธิ. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: บุรีรัมย์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). คู่มือการปฏิบัติการรายวิชา ETP 414 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 (Internship 2). สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566, จาก http://edu.vru.ac.th/main/wp-content/uploads/2020/11/Internship2editNov2020.pdf
มานี แสงหิรัญ, พนมพร ศิริถาพร และ สุกัญญา รุจิเมธาภาส. (2561.) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. Veridian E-Journal. 11(1): 879-894.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ebel, R. L. (1965). Measuring educational achievement. New Jersey: prentice–Hall.
Erkuş, A. (2003). Psikometri üzerine yazılar. Ankara: Türk Psikologlar Derneği Yayınları.
Nunnally, J. (1967). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.
UNESCO. (2015). Global monitoring report: about education for the people. the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.
Translated Thai References
Kaiyawan, Y. (2013). Multivariate statistical analysis for research. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House. (in Thai)
Kanjanawasi, S. (2013). Classical test theory. (7th edition). Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University. (in Thai)
Panlert, C. (2015). Guidance (coaching): Important strategies for developing teachers' teaching and learning. Retrieved September 10, 2023, from http://www1.nsdv.go.th/innovation/coaching.htm. (in Thai)
Sanghirun, M., Sirithaporn, P. & Rujimethabhas, S. (2018). Factors affecting of teacher professional training success rajabhat uttaradit university. Veridian E-Journal. 11(1): 879-894. (in Thai)
Thumthong, B., & Sosuttha, C. (2013). The factors affecting field experience training efficiency of students, faculty of education, Burirum Rajabhat University report. Burirum Rajabhat University: Burirum. (in Thai)
Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage. (2020). Course operations manual ETP 414 Teaching practices in educational institutions 2 (Internship 2). Retrieved July 2, 2023, from http://edu.vru.ac.th/main/wpcontent/uploads/2020/11/Internship2editNov2020.pdf. (in Thai)