การศึกษาผลกระทบด้านการค้าและการลงทุนที่มีต่อการเพิ่มโอกาสในการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจจากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หนองคาย: สถานีนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รถไฟความเร็วสูง

Main Article Content

สุธานันธ์ โพธิ์ชาธาร
เอกรัตน์ เอกศาสตร์
จิรพัฒน์ โทพล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันของพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หนองคาย 2) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจระหว่างการก่อสร้างและหลังก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หนองคาย และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านการค้าและการลงทุนที่มีต่อการเพิ่มโอกาสการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจเมื่อสิ้นสุดการก่อสร้างและเปิดดำเนินการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หนองคายสถานีนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพื้นที่เป้าหมาย คือสถานีนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา และผู้แทนของหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ  ด้านเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่าเมื่อการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสิ้นสุด จะก่อให้เกิดผลกระทบในระดับสูงต่อการค้าและการลงทุน ได้แก่ การเกิดรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ โอกาสที่จะมีรายได้จากทรัพย์สินของครอบครัว เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า และดอกเบี้ย และโอกาสการก่อสร้างอาคาร โรงงาน คลังสินค้า และสถานที่พักอาศัย ดังนั้นภาครัฐควรมีมาตรการในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในพื้นที่ ได้แก่ นโยบายเพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น นโยบายการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ และนโยบายการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2560). การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 4.0. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

ขนิษฐา พัวพันธ์พงษ์. (2561). ความท้าทายของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติกรณีศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย – รัฐบาลจีน. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญเชิด หนูอิ่ม. (2562). การพัฒนาเชิงพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง กรณีศึกษาสถานีชลบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 14(1): 79-91.

ภัทรสุดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2561). Silk Road: โอกาสหรืออุปสรรคต่อเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2555). หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2565). โอกาส และความท้าทาย : โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. (2560). เดินหน้าประเทศไทย…รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ- หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

อภินันท์ จันตะนี. (2565). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

อภินันท์ สีม่วงงาม. (2560). การเปรียบเทียบศักยภาพของพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

Best, J.W. (1977). Research in education. 3rded. New Jersey: Prentice Hall.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rded. New York: John Wiley and Sons Inc.

Translated Thai References

Chantani, A. (2022). Research methodology in social science. Bangkok: Charansanitwong Printing. (in Thai)

Mingmaneenakin, W. (2012). Principles of Macroeconomics. (13th ed). Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)

Nuim, B. (2019). Transit Oriented Development around highspeed rail station case study Chon Buri station. Journal of Liberal Arts Review. 14(1): 79-91. (in Thai)

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Transport. (2017). Moving forward to Thailand…high-speed train Bangkok-Nong Khai, Phase 1 Bangkok-Nakhon Ratchasima. Bangkok: Ministry of Transport. (in Thai)

Palakawong Na Ayutthaya, P. (2018). Silk Road: Opportunities or Threats to the Thai Economy. Bangkok : Government Savings Bank Research Center. (in Thai)

Parliamentary Budget Office. (2022). Opportunities and Challenges: High Speed Rail Project, Bangkok - Nong Khai. Bangkok: Publishing House Secretariat of the House of Representatives.(in Thai)

Puapunpongse, K. (2018). Challenges of Policy Implementation : A Case Study of High-Speed Rail Project for Bangkok-Nakhon Ratchasima route, under the cooperation of Thai and Chinese governments. (Master of Political Science, Thammasat University). (in Thai)

Siphoungam, A. (2017). Research report on the comparison of the potential of areas surrounding high-speed train stations. Nakhon Ratchasima Province Nakhon Ratchasima: Rajamangala University of Technology Isan. (in Thai)

State Railway of Thailand. (2017). State Railway of Thailand (SRT) 4.0. Bangkok: Ministry of Transport. (in Thai)