การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานการบริหารงบประมาณ ของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ณ สำนักงานใหญ่

Main Article Content

พิศมัย อินทิสาน
ศศิวิมล มีอำพล
พรวรรณ นันทแพศย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์งบประมาณรายรับและรายจ่าย ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน ของ รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ณ สำนักงานใหญ่ 2) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลการดำเนินงานการบริหารงบประมาณ ของ รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ณ สำนักงานใหญ่ และ3) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อผลการดำเนินงานการบริหารงบประมาณ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ของ รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ณ สำนักงานใหญ่ การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์แนวโน้ม อัตราส่วนทางการเงิน และแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล จำนวน 308 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) โดยศึกษาช่วงเวลา ปี พ.ศ. 2558 ถึงปี พ.ศ. 2562 เพื่อวิเคราะห์งบประมาณรายรับและรายจ่าย และปี พ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2562 เพื่อวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน (เนื่องจากรายงานปรากฏถึงปี พ.ศ 2562) ผลการวิจัยพบว่า
1) งบประมาณรายรับและรายจ่ายในภาพรวมงบประมาณรายรับเพิ่มขึ้นและงบประมาณรายจ่ายลดลง ด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม อัตราส่วนกำไรต่อดอกเบี้ยจ่าย อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวมและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของผู้ถือหุ้นอยู่ระดับต่ำ ส่วนอัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้และอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวมอยู่ระดับสูง 2) ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลการดำเนินงานการบริหารงบประมาณในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อผลการดำเนินงานการบริหารงบประมาณจำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทํางาน และตำแหน่งโดยรวมไม่ต่างกัน ยกเว้นด้านอายุที่ต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศินี พันธุมจินดา. (2554). การดำเนินงานตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จารุวรรณ มาแต้ม. (2561). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชลดา อักษรศิริวิทยา. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเดินรถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544). มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ธรารินทร์ ใจอื้อพลสุข. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ร้อยโท ขวัญชัย ชมศิริ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วิไลพอน หล้ายสุดทิสัก. (2561). การบริหารงบประมาณที่มุ้งเน้นผลงานตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจำปาสัก สปป.ลาว. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สุนิสา สงบเงียบ. (2551). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท มินอิกเทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุพัฒน์ ปิ่นหอม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงานวิศวกรรม บริษัท เบทาโกรจํากัด (มหาชน) สายธุรกิจอาหารสัตว์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.

อารีย์ นิลเอก. (2554). สภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Cronbach, Lee J. (1990). Essential of psychological Testing. 3rded. New York: Harper Row.

Likert, Rensis. (1967). A Technique for the measurement of Attitude. Chicago: Rand me Nally Company.

Yamane, T. (1970). Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. Harper and Row Publication.

Translated Thai References

Aksornsirivitaya, C. (2016). Job performance efficiency of the bus operation employees of Bangkok Mass Transit Authority (BMTA). (Master Degree of Arts, Krirk University). (in Thai)

Chaieurponsukh, T. (2018). Factors affecting the Success in the performance of the quality accounting office in Thailand. (Master of Accountancy Program, Sripatum University). (in Thai)

Chalermmeeprasert, Chaisit. (2001). Financial management standards 7 Hurdles and the new budgeting system. 7th ed. Bangkok: Theera Film & Scitex Co.,Ltd. (in Thai)

Chomsiri, Khwanchai, lieutenant. (2017). The condition factors has an affecting has an affecting with efficiency performance of certified public accountant on Bangkok area. (Master of Accountantcy, Sripatum University). (in Thai)

Laisouthisak, V. (2018). Strategic performance-based budgeting management of Champasak University, Lao PDR. (Master of Art, Rajabhat Maha Sarakham University). (in Thai)

Laksana, Somjai. (2009). The efficiency development of working. 6th ed. Bangkok: Education Development. (in Thai)

Matam, C. (2018). Performance based budgeting management of school under the office of Prachuabkririkhan primary education service area 1. (Master of Education, Burapha University). (in Thai)

Nineak, A. (2012). The budget administration condition, Focusing on the outcome, schools in Suratthani primary educational service area 2. (Master of Educational Administration, Suratthani Rajabhat University). (in Thai)

Phuntoomjinda, K. (2011). The operating of performance-based budgeting of highschools in Pathumthani province. (Master of Education Thesis, Rajamangala University of Technology Thanyaburi). (in Thai)

Pinhoum, S. (2020). The factors affecting performance efficiency among employees in Engineering Department Betagro Public Limited Animal Feed Business. (Master of Business Administration, Suvarnabhumi Institute of Technology). (in Thai)

Sangobngiab, S. (2008). Opinions regarding the factors affecting performance efficiency of the employees of Min Aik Technology (Thailand) Co., Ltd. (Master of Business Administration, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University). (in Thai)