การจัดการระบบบริหารและระบบโลจิสติกส์ของยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์

Main Article Content

ธรรมศักดิ์ ค่วยเทศ
ธีรพล เถื่อนแพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาระบบบริหารและระบบโลจิสติกส์ของยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์ วิเคราะห์ปัญหา      เพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไขในระดับกลยุทธ์ของยาสูบในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ที่มีการเพาะปลูกมากที่สุดในประเทศ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะส่วนต้นน้ำการผลิตยาสูบ โดยใช้วิธีสุ่มแบบบอกต่อ สังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์ บูรณาการ และประยุกต์ใช้ทฤษฎี การจัดการห่วงโซ่อุปทาน โลจิสติกส์ขาเข้า การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และแมททริกซ์ทาวซ์ พบประเด็นปัญหาที่สำคัญ โดยจัดเป็นหมวดหมู่จากการวิเคราะห์ผลได้ 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านต้นทุน และรายได้ เกษตรกรสร้างรายได้ทางเดียวจาการขายใบยาสูบเท่านั้น และต้องลงทุนกับอุปกรณ์หลังการเก็บเกี่ยวด้วยตนเอง 2) ด้านเทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่มีอุปกรณ์วัดความชื้นที่ได้มาตรฐาน ต้องรับความเสี่ยงต่อการถูกตีกลับคืนสินค้า และโรงบ่มต้องพึ่งพาแสงแดดจากธรรมชาติเท่านั้น ขาดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี และนวัตกรรม 3) ด้านการติดต่อสื่อสาร เกษตรกรรับข่าวสารจากหัวหน้ากลุ่มเท่านั้น การสื่อสารระหว่างเกษตรกรและสถานประกอบการมีความสัมพันธ์น้อย และ 4) ด้านการวางแผน เกษตรกรขาดความเข้าใจเรื่องการวางแผน เช่น การบริหารจัดการที่ดิน การจัดเก็บ การขนส่ง การพยากรณ์ และความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งทั้ง 4 ด้าน ถือเป็นหัวใจหลักของการจัดการระบบบริหารและโลจิสติกส์ของยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธรรมศักดิ์ ค่วยเทศ, ภาควิชาอุตสาหกรรมการบริการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ภาควิชาอุตสาหกรรมการบริการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

การยาสูบแห่งประเทศไทย. (2558). ข้อมูลใบยาเบอร์เลย์. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎคม 2563, จาก https://www.thaitobacco.or.th/th/ 2015/01/006818.html.

ชัญญาภัค หล้าแหล่ง เชษฐ์ ใจเพชร และวิชชุดา เอื้ออารี. (2561). การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดชุมพร. Veridian E-Journal Silpakorn University. 11(2): 3447-3464.

ธีรพล เถื่อนแพ และธรรมศักดิ์ ค่วยเทศ. (2563). การจัดการระบบบริหารและระบบโลจิสติกส์ของยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปาณิสรา จรัสวิญญู และฉัตรชนก จรัสวิญญู. (2561). แบบจำลองสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6(1): 153-162.

มัณฑนา กระโหมวงศ์. (2556). แนวทางการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของปาล์มน้ำมันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ. Princess of Naradhiwas University Journal. 5(4): 216-227.

รุธิร์ พนมยงค์ ไพฑูรย์ วราเดชสถิตวงศ์ และพุทธิพงศ์ จุลกสิกร. (2563). การปิดวงการบริหารโซ่อุปทานการใช้โลจิสติกส์ย้อนกลับเพื่อ สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences. 9(2): 1-8.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. ยาสูบ. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎคม 2563, จาก http://www.ictc.doae.go.th/.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตน์. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ. 33(128): 49-65.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุโขทัย. 2560. รายงานประจำปี 2560. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎคม 2563, จาก https://www.opsmoac.go.th/sukhothai-dwl-files-392891791902.

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์. (2554). การลดต้นทุนเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 17(1): 1-10.

Translated Thai References

Aujirapongpan, S., Vadhanasindhu, P., Chandracha, A. & Pracob, A. (2010). Innovation: Meaning type and Importance for entrepreneurship. Journal of Business Administration. 33(128): 49-65. (in Thai)

Banomyong, R., Varadejsatitwong, P. & Julagasigorn, P. (2020). Closing the Loop in Supply Chain Management: Using Reverse Logistics to Support the Development of the Circular Economy. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences. 9(2): 1-8. (in Thai)

Charutwinyo, P. & Charutwinyo, C. (2018). Farmer’s Problem and Solution Model in Thailand. Journal of Community Development and Life Quality. 6(1): 153–162. (in Thai)

Information Technology and Communication center: Department of Agriculture Extension. 2019. Tobacco. Retrieved July 13, 2020, from http:// www.agriinfo.doae.go.th/year62/plant/rortor/ agronomy/35.pdf (in Thai)

Krahomwong M. (2013). Logistics Management’s Use of Palm Oil in Order to be Efficient. Princess of Naradhiwas University Journal. 5(4): 216-227. (in Thai)

Lalaeng, C., Chaiphet, C., & Uea-aree, W. (2018). Business Networking Development and Competitive Advantage of Community Enterprise in Chumphon Province. Veridian E-Journal Silpakorn University. 11(2): 3447-3464. (in thai)

Prasertsak, A. (2011). Cost Reduction for Business’s Sustainability. Christian University Journal. 17(1): 1-10.

(in Thai)

Sukhothai Provincial Agriculture and Cooperatives Office. 2017. Minutes of meeting 2017. Retrieved November 24, 2017, from https://www.opsmoac.go.th/sukhothai-dwl-files-392891791902. (in Thai)

Thueanphae, T. & Kuaites, T. (2020). Administration and Logistics Management of Burley Tobacco. Research Report. Research and Development Institute, Ramkhamhaeng University.

Tobacco Authority of Thailand. (2015). Burley Tobacco information. Retrieved July 13, 2020, from https://www.thaitobacco.or.th/th/2015/01/006818.html. (in Thai)