ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลยูโร

Main Article Content

พรรณวดี เลิศลุมพลีพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลยูโร โดยพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลยูโร จากตัวแบบจำลอง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร ดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราเงินเฟ้อ ทุนสำรองระหว่างประเทศ เงินทุนเคลื่อนย้าย มูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศไทยไปยุโรป เป็นตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาโดย ใช้ข้อมูลประเภททุติยภูมิรายเดือน ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จํานวน 180 เดือน มาทําการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้ การถดถอยพหูคูณ ด้วยวิธีกําลังสองน้อยที่สุด  ผลการศึกษาพบว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร เป็นปัจจัยที่มีผลกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลยูโรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทิศทางตรงกันข้าม อัตราเงินเฟ้อและทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยที่มีผลกับกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลยูโร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทิศทางเดียวกัน สำหรับปัจจัยที่เหลือ ได้แก่ ดุลบัญชีเดินสะพัด เงินทุนเคลื่อนย้าย และมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศไทยไปสหภาพยุโรป เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลยูโร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่ทำให้ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลยูโร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. (2563). ดัชนีราคาและภาวะเงินเฟ้อ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563, จาก http://www.price.moc.go.th

ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวระยะสั้นของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อเงินเยน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 10(1): 40-49.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. เศรษฐกิจภาคต่างประเทศของไทย. (2563). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563, จาก https://www.bot.or. th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/Pages/default.aspx

ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวระยะสั้นของอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 30(1): 1-10.

บดินทร์ อึ่งทอง; อติ ไทยานันท์; และ ขวัญกมล ดอนขวา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินบาทกับเงินหยวน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15 มีนาคม 2562.

พรชัย ชุนหจินดา. (2553). การบริหารการเงินระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งทื่ 5. กรุงเทพฯ: เอ็ม เอ เอช พริ้นติ้ง.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. สรุปการส่งออกนำเข้าดุลการค้า. (2563). สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2563, จาก http://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx

สมยศ อวเกียรติ; และ สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง (2559). อิทธิพลของปัจจัยที่สำคัญต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เงินบาท ต่อยูโร และ เงินบาทต่อเยน. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 5(2): 16-27.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2540). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวแปรสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2546). คู่มือการใช้ E-VIEWS เพื่อการวิเคราะห์ Unit Root, Cointegration และ Error Correction Model ตามวิธีการชอง Engle and Granger. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Dickey, D. A. & Fuller, W.A. 1979. Autoregression time series with a unit root. Journal of the American Statistical Association. 74(366): 427-431.

Engle, R.F.; & Granger, C.W.J. (1987). Co-integration and error correction: Representa-tion, estimation and Testing. Econometrica. 55: 251-276.

White, Halbert. (1980). A Heteroscedasticity-Consistent Covariance Matrix Estimator and a Direct Test for Heteroscedasticity, in: Econometrica. 48(1980): 817-838, from http://www.indexpr.moc.go.th/price_ present/cpi/stat/test/select_cpig_region.html?table_name

Translated Thai References

Anthong, Akarapong. (2003). E-VIEWS Manual for Unit Root, Cointegration & Error Correction Model Analysis according to the method Engle and Granger. Changmai: research institute Chiang Mai University Society. (in Thai)

Avakiat, SomYos; & Prawatrungruang, Sittiporn. (2016). The Influencing of Important Factors on Exchange Rate of Thai Baht against the US Dollar,Thai Baht against the Euro, and Thai Baht against the Yen. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand under the Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. 5(2):16-27. (in Thai)

Avirothnanont, thatpong. (2015). Determinants affecting a fluctuation of Thai-Yen exchange rate. Journal of Business Administration Economics and Communication. 10(1): 40-49. (in Thai)

Bank of Thailand. (2020). The foreign economy of Thailand. Retrieved September 10, 2020, from https://www. bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/Pages/default.aspx

Department of Ministry of Commerce. (2020). Price Index and Inflation. Retrieved September 20, 2020, from http:// www.price.moc.go.th

Engthong Bauudin; Thaiyanan Ati; & Donkwa Kwunkamol. (2019). Factors Determining The Baht-Yuan Exchange Rate. The 20th National Graduate Research Conference. Khonkaen University. March 15 2019. (in Thai)

Hunhachinda, Pornchai. (2010). Financial Management. 5thed. Bangkok: MAH printing. (in Thai)

Information and Communication Technology Center. Office of the Permanent Secretary. (2020). Ministry of Commerce. Retrieved September 3, 2010, from http://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx (in Thai)

Prasitratthasin, Suchart. (1997). Multivariate techniques for social and behavioral sciences research: principles, methods and applications. Bangkok: Liang Chiang Printing. (in Thai)

Rattanapongpinyo, Taninrata. (2010). A Study of Factors Affecting the Shor-term Movement of the Thai Bath vs the US Dollar. Journal of The University of the Thai Chamber of Commerce. 30(1): 1-10. (in Thai)