รูปแบบการพัฒนาผู้นำครูสะเต็มศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

ผู้แต่ง

  • รสริน พันธุ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ชุฏิภัคศ์ เขมวิมุตติวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • อโนดาษ์ รัชเวทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ภาณุพัฒน์ ชัยวร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การวิจัยและพัฒนา, รูปแบบ, การพัฒนาผู้นำครู, สะเต็มศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาครูสะเต็มศึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และเพื่อพัฒนารูปแบบและคู่มือการพัฒนาผู้นำครูสะเต็มศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา ประชากร คือ ครูผู้สอนในวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 614 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 18 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การจัดอบรมครูสะเต็มศึกษา การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ การประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ  และการทดลองใช้รูปแบบและคู่มือการพัฒนาผู้นำครูสะเต็มศึกษา เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบทดสอบความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา แบบสังเกตพฤติกรรมเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และแบบประเมินคุณภาพรูปแบบและคู่มือ

ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาครูสะเต็มศึกษา มีการขับเคลื่อน 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ระดับที่ 2 ศูนย์สะเต็มศึกษาภาค มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง และมหาวิทยาลัยเครือข่ายของ สสวท. และ ระดับที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ปัญหาที่พบ คือ ครูสะเต็มศึกษาไม่สามารถสร้างแผนกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับสาขาวิชา บริบท และตอบสนองต่อศักยภาพของนักเรียนในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 และ 2) ผลการพัฒนารูปแบบและคู่มือการพัฒนาผู้นำครูสะเต็มศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2  ได้รูปแบบ คือ Leader Teacher STEM Model : LT STEM Model  และคู่มือการพัฒนาผู้นำครูสะเต็มศึกษาให้สามารถสร้างแผนกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับสาขาวิชา บริบท และตอบสนองต่อศักยภาพของนักเรียนสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ที่มีผลการประเมินคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 อยู่ในระดับคุณภาพมาก

References

กนกพร กระจ่างแสง. (2560). บทบาทของผู้บริหารกับการสร้างทีมงานในการพัฒนาองค์การ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(26): 156-161.
ชุฏิภัคศ์ เขมวิมุตติวงศ์. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การพัฒนานักศึกษาออกแบบแผนกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยการเรียนรู้เชิงรุก. พิฆเนศวร์สาร. 13(2): 109-127.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร. 33(2): 49-55.
พินิจ เนื่องภิรมย์. (2559). การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พิเศษ ปั้นรัตน์. (2556). เอกสารการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง หลักและวิธีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. (2560). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2560. เชียงใหม่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2.
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (Innovative Leadership). กรุงเทพฯ: ทรูปลูกปัญญา.
Carol Kennedy. (2007). Guide to the Management Gurus. New York: BRILANTI.
Han, S. (2014). How Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) Project-based Learning (PBL) affects High, Middle and Low Achievers Differently: The Impact of Student Factors on Achievement. Internation Journal of Science and Mathematics Education. 12(2): 1083-1113.
Horth, D. M., & Vehar, J. (2012). Becoming a Leader Who Fosters Innovation. (White Paper), Greensboro, NC: Center for Creative Leadership.
Keeves. (1997). Educational Research, Methodology, and Measurement. UK: Cambridge.
Peter, Senge. (1990). The fifth discipline: The art practice of the learning organization. New York: Doubleday.

Translated Thai References
Chiang Mai Primary Education Service Areas 2. (2017). Annual Report 2017. Chiang Mai: Chiang Mai Primary Education Service Areas 2. (in Thai)
Kemwimoottiwong, Chutipuk. (2017). Action Research: Student development for activities planning design of STEM Education with active learning. Journal of pikanasan. 13(2): 109-127. (in Thai)
Krajangsaeng, Kanokporn. (2560). The Role of Administrators and Team Building For The Organization Development. Journal of Thonburi University. 11(26): 156-161. (in Thai)
Nuangpirom, Pinit. (2016). The 9th National Conference on Technical Education. Bangkok: King mongkut,s university of technology north Bangkok. (in Thai)
Punrut, Phiset. (2013). Training materials is Principles and methods of preparation of operating manuals. Bangkok: Kasetsart university. (in Thai)
Siripatharachai, Porntip. (2013). STEM Education and 21st Century Skills Development. Executive Journal. 33(2): 49-55. (in Thai)
Suwanwong, Anutsara. (2016). Innovative Leadership. Bangkok: trueplookpanya. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2014). Manual of the STEM Education Teacher Training Course. Bangkok : STEM Education Thailand. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01

How to Cite

พันธุ ร., เขมวิมุตติวงศ์ ช., รัชเวทย์ อ., & ชัยวร ภ. (2019). รูปแบบการพัฒนาผู้นำครูสะเต็มศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 133–144. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/214073