ผลการใช้กิจกรรมส่งเสริมความคิดเชิงบวกในนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
กิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงบวก, นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยใช้แบบแผนการทดสอบก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดเชิงบวกของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงบวก และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเชิงบวกของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูก่อนและหลังสิ้นสุดกิจกรรมส่งเสริมความคิดเชิงบวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 75 คน สุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน ได้รับกิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงบวก และกลุ่มควบคุม จำนวน 35 คน ไม่ได้รับกิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงบวก แต่ได้เรียนเรื่องทฤษฎีบุคลิกภาพ กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงบวก 4 ขั้นตอน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงบวก และแบบวัดการคิดเชิงบวก ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนเป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงบวกมีความคิดเชิงบวกสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการคิด เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) หลังสิ้นสุดกิจกรรมส่งเสริมความคิดเชิงบวกนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูมีความคิดเชิงบวกสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
คำสำคัญ: กิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงบวก นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
References
อรพินทร์ ชูชม. (2544). จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติในการมองโลกในแง่ดี. ใน รวมบทความทางวิชาการ เล่ม 2 จากแนวคิด…สู่การปฏิบัติ. อัจฉรา สุขารมณ์ วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี และ อรพินทร์ ชูชม. 165-181. กรุงเทพฯ: DESKTOP.
เรวดี ทรงเที่ยง. (2548, กรกฎาคม–ธันวาคม). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจภายในเพื่อสร้างสัมพันธภาพในการทำงานของหัวหน้าช่างในศูนย์บริการรถยนต์ วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 1(2): 47-58.
_______. (2550, มกราคม-มิถุนายน). การคิดเชิงบวก (Positive Thinking). วารสารดวงแก้ว. 12(1): 69–76.
Buckley, R., & Jim, Caple. (1995). The Theory of Practical of Training. 3rded. London: Kogen Page.
Clear, J. (2018). How Positive Thinking Builds Your Skill, Boosts Your Health, and Improves Your Work. Retrieved February 9, 2018. from http://jamesclear.com/positive-thinking.htm.
Deci, E.L., Koestner, R., & Ryan, R.M. (1999, November). A Meta-Analysis Review of Eperiments Examining the Effects of Extrinsic Rewards on Intrinsic Motivation. Sychological Bulletin. 125(6): 627-668.
Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York: Bantam Books.
Hajee, K. (2013). How Positive Thinking Re-Wires Your Brain. Retrieved from http://affirmationsforpositive thinking.com/blog/how-positive-thinking-rewires-yourbrain/
Seligman, M. (1998). Learned Optimism. New York: Simon & Schuster.
Translated Thai References
Sitsira-at, S. (2015). Personality and Adjustment in work. Bangkok: Department of Psychology, Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University. (in Thai)
Songtiang, R. (2005). Development of a Program Promoting Intrinsic Motivation in Work Relationship in Automobile Service Centers Team Leaders. Srinakharinwirot University Journal. 1(2): 47-58. (in Thai)
_______. (2007). Positive Thinking. Doung Kaw Journal. 12(1): 69-76. (in Thai)
Sukhlarom, A., Chuawanlee, V., & Chuchom, O. (2001). Include academic articles from the concept to the practice. O. Bangkok: DESkTOP. (in Thai)