วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม : กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, พหุวัฒนธรรม, วัยรุ่น, ลักษณะการมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และทำการตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า วิเคราะห์โดยใช้การตีความตามสภาพบริบท
ผลการวิจัยพบว่า ด้านลักษณะการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นจะเป็นไปในรูปแบบของการพูดคุยเรื่องการเมือง แต่ที่เป็นหลักคือการไปเลือกตั้งโดยส่วนใหญ่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพราะเห็นว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญ ด้านลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่วัยรุ่นพึงประสงค์ ได้แก่ 1) ต้องการพื้นที่เพื่อใช้ในการแสดงออกทางการเมือง 2) การเลือกตั้ง 3) มีส่วนร่วมในการเลือกผู้ปกครองระดับท้องถิ่นด้วยตนเอง แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่น ได้แก่ 1) ครอบครัว ปลูกฝังจิตสำนึกการเมือง 2)โรงเรียน ให้ความรู้เกี่ยวกับการเมือง 3) ชุมชน ต้องสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองขึ้นมา 4) ศาสนา ต้องปลูกฝังเรื่องความดีหรือสิ่งที่ควรประพฤติ 5) หน่วยงานทางการปกครองมีส่วนสำคัญ เพราะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่น ได้แก่ 1) การศึกษา ที่ยังไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะในหมู่บ้านที่ห่างไกล 2) วัยรุ่นติดยาเสพติดจนทำตัวนิ่งเฉยเรื่องบ้านเมือง 3) สภาพเศรษฐกิจครอบครัว รายได้ไม่พอเลี้ยงชีพทำให้วัยรุ่นสนใจแต่เรื่องปากท้องและทำงาน 4) การพนันฟุตบอลแพร่หลาย 5) เกรงกลัวอันตราย จนไม่กล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆทางการเมือง เพราะกลัวจะตกเป็นเป้าหมายของฝ่ายตรงข้าม
คําสําคัญ : การมีส่วนร่วมทางการเมือง, พหุวัฒนธรรม, วัยรุ่น, ลักษณะการมีส่วนร่วม
References
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). อาเซียนศึกษา. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.
สถาบันพระปกเกล้า. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สมบัติ ธํารงธัญญวงศ์. (2549). การเมืองไทย. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
สุรพงษ์ ชัยนาม. (2545). อาเซียนในสหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: เต็มร้อย
Translated Thai References
Chainam, Surapong. (2002). ASEAN in the New Millennium. Bangkok: Tem Roy. (in Thai).
Khemnachit, Kamol. (2014). Factors Affecting Participation of Resident in the Area of Sub district Administrative Organizations in Petchaboon Province. Journal of Thonburi University, 8(17)80-89. (in Thai).
King Prajadhipok's Institute. (2017). Constitution of The Kingdom of Thailand 2017. Bangkok: Cabinetand Royal Gazette Publishing Office. (in Thai).
Phruksananan, Narong. (2013). ASEAN Studies. Bangkok: McGraw-Hill. (in Thai).
Thamrongthanawong, Sombat. (2006). Thai Politics. Bangkok: Sermatam. (in Thai).