ประเมินการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนไปสู่การปฏิบัติด้วยการประเมินแบบตอบสนอง

ผู้แต่ง

  • สุนทรา โตบัว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พนิต เข็มทอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรัทยา ธรรมกิตติภพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แผนยุทธศาสตร์, การพัฒนาชุมชน, โมเดลการประเมินแบบตอบสนอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การประเมินการนำแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560 - 2564 ไปสู่การปฏิบัติ ได้นำโมเดลการประเมินแบบตอบสนองของโรเบิร์ตสเตค  (Robert Stake‘s Responsive Evaluation Model) มาใช้เป็นตัวแบบในการประเมิน การเลือกตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยสุ่มจังหวัดที่ตามภูมิภาคได้ 12 จังหวัด จากนั้นสุ่มเลือกอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน แล้วเลือกผู้ให้ข้อมูล คือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ รวมทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับกรมการพัฒนาชุมชน ผลการประเมินพบว่า โครงการสำคัญทั้ง 5 โครงการ มีประสิทธิภาพระดับดีมาก เนื่องจากดำเนินโครงการเป็นไปตามแผน ประชาชนมีความพึงพอใจมาก ส่วนประสิทธิผล  ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือมีผลงานตามตัวชี้วัดเกินร้อยละ 80 ได้แก่ โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โครงการตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้ และโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากระดับอำเภอ หลักสูตรเสริมสมรรถนะพัฒนาการอำเภอ ส่วนโครงการที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินมิติประสิทธิผล เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูลโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการ ผลกระทบจากการดำเนินโครงการทุกโครงการมีผลกระทบเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ จึงสรุปว่ามีความคุ้มค่าในเชิงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมทุกโครงการ ผลการประเมินมีข้อเสนอแนะดังนี้ ควรสนับสนุนปัจจัยการดำเนินโครงการอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ ภายใต้ระบบสนับสนุน 3 ประการ คือระบบความรู้ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม  และควรทำการวิจัยเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชน 

คำสำคัญ:  แผนยุทธศาสตร์, การพัฒนาชุมชน, โมเดลการประเมินแบบตอบสนอง

References

กฤษณ์ รักชาติเจริญ, ดํารงศักดิ์ จันโททัย, จันทนา อินทฉิม; และ เมทิณี แสงกระจ่าง. (2559). ปัจจัยชี้วัดความสําเร็จในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ. Bu Academic Review. 15(2): 23-33.
ณัฏฐารัตน์ หาญศรี. (2560). การออมของครัวเรือนฐานรากในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560, https://www.gsb.or.th
รัตนะ บัวสนธ์, สําราญ มีแจ้ง, สายฝน วิบูลรังสรรค์; และ ปุณิกา ศรีติมงคล. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานอิงสมรรถนะ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 10 (2): 96-107.
รัตนะ บัวสนธ์. (2560). ชุมนุมวิชาการด้านการวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา “การประเมินแบบมีส่วนร่วมและการประเมินแบบอาศัยฐานผู้เกี่ยวข้อง” สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560 จาก http://www.rattanabb.com/modules.php?name=News&file.
วชิราภรณ์ สุรธนะสกุล, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ; และ อัจฉรา ไชยูปถัมภ์. (2559). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560 จาก https://research.dusit.ac.th.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2549). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Christina A. Christie; & Marvin C. Alkin. (2013). An Evaluation Theory Three in Marvin C. Alkin editor, Evaluation Root A Wider Perspective of Theorists’ Views and Influences. 2nded. Sage.
Robert E. Stake. (1975). To Evaluate an Arts Program. Evaluation the Arts in Education: A Responsive Approach. Merrill, Colombus: OH. 13-31.
Robert E. Stake. (2004). Standards–Based & Responsive Evaluation. Sage.

Translated Thai References
Buason, R. (2017). Academic conference in Educational Research and Evaluation “Participatory Evaluation and Stakeholders base Evaluation” Retrieved from March 10, 2017, http://www.rattanabb.com/modules.php?name= News&file (in Thai).
Buason, R., Meejaeng, S., Wibulrungsun, S., and Sritimo ngkol, P. (2013). Development of Performance based on Performance of the Village Health Volunteers Evaluation Model. Journal of Science and Research Intelligence. 10 (2): 96-107. (in Thai).
Hansri, N. (2017). Savings of Home Foundations in Thailand. Retrieved from July 30, 2017, https://www.gsb.or.th (in Thai)
Kanjanawasri, S. (2009). Theory of Evaluation. Bangkok: Chulalongkorn University press. (in Thai).
Pitiyanuwat, S. (2006). The Science of Value Evaluation Methodology. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).
Rakchatjarern, K., Chantanothai, D., Intachim, J.;& Saengkrajang, M. (2016). Key Success Factors to Drive a Resolution National Health Assembly to Practice. Bu Academic Review. 15 (2): 23-33. (in Thai)
Surathanasakul, V., Areesophonpichet, S.;& Chaiyupathum, A. (2016). Strengthening Community Model by Community College. Retrieved July 30, 2017 from https://research.dusit.ac.th (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-01

How to Cite

โตบัว ส., เข็มทอง พ., & ธรรมกิตติภพ ว. (2018). ประเมินการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนไปสู่การปฏิบัติด้วยการประเมินแบบตอบสนอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 163–173. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/148698

ฉบับ

บท

บทความวิจัย