ความคาดหวังและความพึงพอใจในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • ดวงดาว โยชิดะ วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชวลีย์ ณ ถลาง วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตลาดท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นมีต่อความคาดหวังและความพึงพอใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อคำถามจำนวน 2 ส่วน สอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน คือ การทดสอบสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ60–64 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย อาชีพแม่บ้าน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 200,000 เยน สถานภาพสมรส รู้จักประเทศไทยจากสื่อโทรทัศน์ ประสบการณ์ในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทย 1 ครั้ง ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน เวลาในการท่องเที่ยว 5-7 วัน เดินทางพร้อมครอบครัว ซื้อแพ็คเกจทัวร์ ค่าใช้จ่ายเดินทาง/ครั้งมากกว่า 150,000 เยน ต้องการกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทยอีก ปัจจัยด้านความปลอดภัยก่อให้เกิดอุปสรรคในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทย

นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นมีความคาดหวังในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นมีความคาดหวังในด้านราคามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านสินค้าและบริการ ด้านกระบวนการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านพนักงาน และน้อยที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ ส่วนด้านความพึงพอใจ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นมีความพึงพอใจในด้านราคามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสินค้าและบริการ ด้านพนักงาน ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ และน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ การตลาดท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นมีความคาดหวังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.000 

คำสำคัญ: ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น, ประเทศไทย

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). โครงการสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย ประจำปี 2560. สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2557). รู้เขา รู้เรา รู้อาเซียน. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2561, www.itd.or.th
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุประเทศไทย. กลุ่มงานวิจัยและข้อมูล สำนักวิชาการ สำนักงาน เลขาธิการวุฒิสภา. 3(16): ก-ข.
ชิษณุกร พรภาณุวิชญ์. (2540). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของสมาชิกองค์การบริหารการบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธีร์ ตีระจินดาและสมบัติ กาญจนกิจ. (2557). การส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุตลาดญี่ปุ่นสู่ประเทศไทย. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โรงเรียนสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น. (2541). กระจกส่องญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.
_______. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2549). การบริหารท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ).
สุณัฐวีย์ น้อยโสภา. (2561). ความแตกต่างทางวัฒนธรรมปัจจัยสำคัญในการขยายธุรกิจสู่ตลาดโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(27): 187-194.
สุรเชษฎ์ เชษฐมาส และดรรชนี เอมพันธุ์. (2539). อุทยานแห่งชาติกับการอนุรักษ์. ใน สุรเชษฎ์ เชษฐมาส และดรรชนี เอมพันธุ์ (บรรณาธิการ),การฝึกอบรมหลักสูตรการเป็นวิทยากรด้านการจัดการพื้นที่อนุรักษ์: การบริหารการจัดการพื้นที่อนุรักษ์และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางด้านชีวภาพ. กรุงเทพฯ: ไทยพัฒนาพานิช.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cabinet Office Government of Japan. (2015). Elderly Person Statistics Report. Retrieved January 31, 2018, from www8.cao.go.jp/kourei/whitepaper/w-2017/html/gaiyou/s1_1.html
Hall, C. Mitchael. (2006). ‘Demography’ Tourism Management Dynamics: Trends, Management and Tools. Edited by Dimitrios buhalis and Carlos Costa, Elsevier Butterworth-Heinemann,Burlington, 9-18.
Naohiro,Yashiro. (1996). The Economic Effects of Aging in the United States and Japan: The Economic Position of the Elderly in Japan. Edited by University of Chicago Press, 89-107.
Sellick, Megan Cleaver;& Thomas E. Muller. (2004). “ Tourism for the Young-old and Old- old”. New Horizons in Tourism: Strange Experiences and Stranger Practices. Edited by TV Singh, CABI Publishing, Cambridge, 163-180.

Translated Thai References
Chetmas, Surachet;& Datchanee, Aimphan. (1996). National Park and Preservation. in Surachet Chetmas and Datchanee Aimphan (Editor), Reserved Area Management Lecturer Training: Reserved Area Management and Bio-Diversity Preservation. Bangkok: Thai Pattanapanich (in Thai).
Economic, Tourism and Sport. (2017). Attitude and Satisfaction in Traveling around Thailand In 2017. Office of the Permanent Secretary. (in Thai)
Euachongprasit, Santichai. (2006). Strategic Tourism Management. Bangkok: Sam Charoen Panit (Bangkok). (in Thai).
Isichaikul, Ranee. (2014). Specific Tourism Management. Bangkok: STOU Book. (in Thai)
Nanthapaiboon, Jittinan. (2008). Service Psychology. Bangkok: SE-ED. (in Thai)
Noisopha, Sunatawee. (2018). Differences of Culture: Important Factors of Business Expanding to World Market. Journal of Thonburi University Sunatthavee Noisopa. 11(27): 187-194. (in Thai)
Pornphanuwit, Chitsanukorn. (1997). Expectation of People on Local Resources Management of Sub-district Administration Organization Members: A Case Study of Phrae Province. Thesis of Master of Social Sciences, Environment Program, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University (in Thai).
Promphak, Chompunuch. (2013). Approaching Thailand Aging Society. Research and Information Division, Bureau of Academic Affairs, The Secretariat of the Senate 3(16): a-b (in Thai)
Rattanapaitoonchai, Jirawadee. (2014). Know Each Other, Know ASEAN. Retrieved on 3 January 2018, from www.itd.or.th (in Thai)
Santichai, Euachongprasit (2006). Strategic Tourism Management. Sam Charoen Panit (Bangkok): Bangkok (in Thai).
Serarat, Siriwan et al. (1998). Business Research. Bangkok: Petchjarassaeng (in Thai).
_______. (2003). Modern Marketing Management. Bangkok: Thammasan. (in Thai).
Technology Promotion Association (Thailand-Japan) (1998). Reflecting Japan. Bangkok: Duangkamol Samai (in Thai)
Tirajinda, Tee;& Kanchanakit, Sombat. (2014). The promotion of tourism for Japanese elderly marketers to Thailand. Master of Science, Chulalongkorn University (in Thai)
Tirakanan, Suwimol. (2008). The creation of variations measuring tools for social science research: a guideline for practice. 2nded. Bangkok: Chulalongkorn University Book Center (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-01

How to Cite

โยชิดะ ด., ณ ถลาง ช., พรหมสุวรรณ ส., & ตั้งเบญจสิริกุล ส. (2018). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 127–137. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/148679

ฉบับ

บท

บทความวิจัย