การบริหารจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนของอุทยานแห่งชาติทับลานและแก่งกระจานในเชิงของยุทธศาสตร์และการนำไปปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ จำรัสการ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ฉัตรวรัญช์ องค์สิง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, นโยบายสาธารณะ, อุทยานแห่งชาติทับลาน, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเกิดขึ้นของภาคปฏิบัติการวาทกรรมจากการใช้ประโยชน์บนที่ดินในอุทยานแห่งชาติทับลานและแก่งกระจาน 2) ศึกษาภาคปฏิบัติการของการจัดการที่ดินทับซ้อนระหว่างรัฐกับประชาชนคนไทย 3) ศึกษากระบวนการเบียดขับ กีดกันให้ประชาชนกลายเป็นอื่น โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลผู้ให้ข้อมูล แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานและแก่งกระจาน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัยพบว่า เมื่อรัฐเข้ามามีบทบาทกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยอาศัยอำนาจรัฐตามวาทกรรมกระแสหลักมุ่งหวังใช้กฎหมายครอบงำประชาชนให้ปฏิบัติตามกฏหมาย เพียงเพื่อตามแนวคิดทำเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้ได้ประโยชน์สูงสุด แต่ไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จึงส่งผลกระทบต่อคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานและแก่งกระจาน วาทกรรมในการใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ทำการเบียดขับให้ประชาชนต้องสยบยอม กลายเป็นคนชายขอบ ในส่วนของภาครัฐ ปัญหาที่พบ รัฐใช้อำนาจทางกระแสหลักเพื่อบังคับใช้กฎหมายมากกว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหา

ข้อเสนอแนะ ภายใต้กระบวนการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนที่รัฐกระทำต่อประชาชนโดยการบังคับใช้กฏหมายการจัดการกับปัญหาชุมชนในลักษณะการบังคับใช้กฏหมายไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งรัฐมีความจำเป็นในการแก้กฏหมายเชิงนโยบาย กล่าวคือ 1) การแก้หลักแนวคิดการออกกฏหมายเชิงโครงสร้าง จะต้องให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการออกกฏหมายร่วมกับรัฐ เป็นต้น 2) แนวทางการออกกฏหมายจะต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอ จะเน้นบังคับใช้อย่างเดียวไม่ได้

คำสำคัญ: การบริหารจัดการ, นโยบายสาธารณะ, อุทยานแห่งชาติทับลาน, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 

 

References

นเรศน์ วงศ์สุวรรณ. (2547). การผลิตเพื่อการค้าในฐานะวาทกรรมในชุมชนชนบทไทย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรีชา เปี่ยมพงศานต์. (2540). นิเวศเศรษศาสตร์และนิเวศวิทยาการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฟูโกต์วิกิตำรา. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2561 จาก https://th.m.wikibooks.org
ศิรินันท์ ทิพย์เจริญ. (2559). ธรรมาภิบาลในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 10(23): 67-80.
สาโรชน์ นิลเขต และวนิดา พรไพบูลย์. (2550). ถาม-ตอบกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและป่าไม้. (พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สุภางค์ จันทวานิช. (2546). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรชัย ธรรมทวีธิกุล และญาณพินิจ วชิระสุรวงค์. (2559) แนววิธีการพยากรณ์พฤติกรรมของมนุษย์ใน “พลวัตรกลุ่ม” (Group Dynamics) ของ (Kurt Lewin แห่ง M.I.T). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 10(23): 112-118.
Cooper,T.L. (1991). An Ethic of Citizenship for Public Administration. Englewood Cliffs, NJ:Prentice Hall.
Foucault. M. (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writings, 1972-1977. New York: Pantheon.
Habermas, J. (1974). Theory and Practice. London: Heinemann.
Lewin, K. (1939,May). Field Theory and Experiment in Social Psychology: Concepts and Methods. American Journal of Sociology. 44(6).

Translated Thai References
Chantavanich, Supang. (2003). Qualitative Research Methods. 11thed. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Fugo. (n.d.). Vekatala. Retrieved June 06, 2018, from https://th.m.wikibooks.org (In Thai).
Nilakarn, Saroj;& Pornpaiboon, Wanida. (2015). Questions and Answers on Law and Forest Law, along with other relevant Laws. 4thed. Bangkok:Winyuchon. (in Thai).
Piamphongsant, Preecha. (1997). Ecologicaleconomicsandpoliticalecology. Bangkok: Chulalongkorn University.
(in Thai).
Thmtavitikul, S. and Wachirasurong,Y. (2016). The Effort toword anticipating in Behavior of A Man for Group Dynamics of Kurt Lewin at M.I.T.Journal of Thonburi University. 10(23): 112-118. (in Thai).
Tipcharoen, S. (2016). Goodgovennance in the offices of Rajabhatrajanagarindra University. Journal of Thonburi University. 10(23): 67-80. (in Thai). (in Thai).
Wongsuwan, Nared. (2004) The Discourse of trade production in rural community of Thailand, for the Doctor of Education degree in Development Education at Srinakharinwirot University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-01

How to Cite

จำรัสการ ส., & องค์สิง ฉ. (2018). การบริหารจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนของอุทยานแห่งชาติทับลานและแก่งกระจานในเชิงของยุทธศาสตร์และการนำไปปฏิบัติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 62–70. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/148637

ฉบับ

บท

บทความวิจัย