ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีปฏิบัติทางการบัญชีกับความเข้มแข็งทางการเงิน กรณีศึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุภาณี อินทน์จันทน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ของวิธีปฏิบัติทางการบัญชี 3 เรื่อง คือ วิธีคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือ วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคา และวิธีรับรู้รายได้ กับความเข้มแข็งทางการเงินซึ่งพิจารณาจากอัตราส่วนการเงิน 15 รายการ ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของกิจการ ๑๘ กิจการ ซึ่งประกอบด้วยกิจการขาย 7 กิจการ กิจการผลิต 7 กิจการ และ กิจการบริการ 4 กิจการ พบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมักเลือกใช้วิธีปฏิบัติทางการบัญชีตามคำแนะนำของสำนักงานบัญชีและสำนักงานสรรพากร การวิเคราะห์ความแตกต่างของจำนวนกิจการที่เลือกใช้วิธีปฏิบัติในแต่ละเรื่อง พบว่า ผู้ประกอบการเลือกใช้วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์วิธีเดียวกันทั้งหมด คือ วิธีเส้นตรง เนื่องจากคำนวณได้ง่ายและไม่ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติมใดๆ จำนวนกิจการที่เลือกใช้วิธีปฏิบัติทางการบัญชีเรื่องการคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือ และวิธีรับรู้รายได้ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อวิเคราะห์ระดับความเข้มแข็ง พบว่า จำนวนกิจการที่มีความเข้มแข็งมากและมีความเข้มแข็งน้อยมีจำนวนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของวิธีปฏิบัติทางการบัญชีกับความเข้มแข็งทางการเงิน พบว่า วิธีคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือ และ วิธีรับรู้รายได้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับความเข้มแข็งด้านสภาพคล่อง โดยกิจการที่ใช้วิธีคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือโดยวิธีถัวเฉลี่ยมีค่าความเข้มแข็งด้านสภาพคล่องสูงกว่ากิจการที่เลือกใช้วิธีอื่น และกิจการที่ใช้วิธีคำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือวิธีเข้าก่อน-ออกก่อนมีค่าความเข้มแข็งด้านความสมดุลย์ของโครงสร้างทางการเงินต่ำกว่ากิจการที่ใช้วิธีอื่น กิจการที่ใช้วิธีรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้างมีค่าความเข้มแข็งด้านสภาพคล่องสูงกว่ากิจการที่รับรู้รายได้ตามเกณฑ์เงินสด วิธีปฏิบัติทางการบัญชีและความเข้มแข็งด้านอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยโดยภาพรวมแสดงให้เห็นว่าวิธีปฏิบัติทางการบัญชีมีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางการเงิน


 คำสำคัญ: นโยบายการบัญชี, วิธีปฏิบัติทางการบัญชี, อัตราส่วนทางการเงิน ความเข้มแข็งทางการเงิน, วิสาหกิจขนาดกลางและ 


               ขนาดย่อม


 


 

Article Details

How to Cite
อินทน์จันทน์ ส. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีปฏิบัติทางการบัญชีกับความเข้มแข็งทางการเงิน กรณีศึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 159–171. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/145185
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา เสกตระกูล. (2556). การวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
กัญญาพัชญ์ อรุณรัตน์. (2557). ปัจจัยการเลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ที่มีต่อ ฐานะการเงินและผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI). วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 20(2), 69–78.Federation of Accounting Professions under the Royal Patronage. (2017). Thai Financial ReportStandard. Retrieved February 14, 2017 from http://www.fap.or.th/index.php?lay=show& ac=article&Id=539863468&Ntype=58 (in Thai)
ขจรเกียรติ อรุณไพโรจนกุล. (2559). SME ได้อะไรมากกว่าเว้นภาษี ถ้าทำบัญชีเดียว. Retrieved November 6, 2016, from http://www. efinancethai.com/MoneyStrategist/file/index.aspx?release=y&id=972&file_name=ms_20160218symbol=MS
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://portal.set. or.th/mai/stockslookup.do?locale=th_TH
ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์. (2557). นโยบายการบัญชีในการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือตามเกณฑ์ราคาทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรรณี วรวุฒิจงสถิต. (2558). กิจการ SME กับเรื่องของบัญชีกับภาษี ตอน SME กับการทำบัญชี. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560, จาก http://www.smartsme.tv/content/17964
ภัทรศศิร์ พรประภา. (2557). การเข้าถึงแหล่งทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย. การประชุมเชิงวิชาการระดับชาติและระหว่างชาติทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1 . กรุงเทพฯ ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2560 จาก https://www. scribd.com/document/246270237/The-Access-to-Sources-of-Fund-for-Thai-Small-and-Medium-Enterprises
วรรษมน ทองรักษ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความน่าเชื่อถือของงบการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในมุมมองนักวิเคราะห์สินเชื่อ (บัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). มาตรฐานรายงานทางการเงินไทย. สืบค้นเมื่อ14 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.fap.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539863468&Ntype=58
สำนักปลัดกระทรวงการคลัง. กลุ่มสารนิเทศการคลัง. (2559). มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับ SMEs. ข่าวกระทรวงการคลัง, 1(2559), 1.
อภิญญา วิเศษสิงห์. (2556). การจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อมรา ติรศรีวัฒน์. (2555). ปัญหาของสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นอุปสรรคต่อการให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 8(2), 186–197.
Adler, P., & Adler, P. A. (2012). The Epistemology of Numbers. In How many qualitative interviews is enough? Expert voices and early career reflections on sampling and cases in qualitative research. GB National Centre for Research Methods. Retrieved from http://blog.soton.ac.uk/dissertation/files/2013/09/how_many_interviews.pdf
Agarwal, B. L. (2006). Basic Statistics (4th ed.). New Delhi: New Age International.
Al-nassan, M. zuhair, Al-shaqnobi, M., & Nabaheen, M. (2013). Methods of Inventory Valuation Aplication and Limitation. Islamic University of Gaza, Gaza.
Beckert, P. J. (2007). Measuring Business Financial Strength. Retrieved April 25, 2017, from http://www.pinnaclebusiness. com/newsletter/Financial%20Review%20By%20Pinnacle%20Consultants%20042611.html
Bradley, J. V. (1960). Distribution-Free Statistical Tests. Ohio: Wright Air Development Division Air Research And Development Command United States Air Force. Retrieved from http://www.dtic.mil/dtic/tr/fulltext/u2/249268.pdf
Brown, J. D. (2007). Sample size and statistical precision. JALT Testing & Evaluation SIG Newsletter, 11(2), 21–24.
Dworkin, S. L. (2012). Sample Size Policy for Qualitative Studies Using In-Depth Interviews. Archives of Sexual Behavior, 41(6), 1319–1320.
Faber, J., & Fonseca, L. M. (2014). How sample size influences research outcomes. Dental Press Journal of Orthodontics, 19(4), 27–29.
Fay, M. P., & Proschan, M. A. (2010). Wilcoxon-Mann-Whitney or t-test? On assumptions for hypothesis tests and multiple interpretations of decision rules. Statistics Surveys, 4, 1–39.
Garman, E. T., & Forgue, R. (2011). Personal Finance. Cengage Learning.
Greene, S. (2015). Quantitative Data Analysis: Choosing a statistical test. Office of Planning, Assessment, Research & Quality University of Wisconsin. Retrieved from https://www.uwstout.edu/parq/intranet/upload/what _quant_test_to_use.pdf
Gurau, M. (2014). Three Types of Accounting Policies Reflected in Financial Statements. Case Study for Romania. Global Economic Observer, 2(1), 209–221.
International Accounting Standards Board. (2017). IFRS - Mission Statement. Retrieved May 14, 2017, from http://www.ifrs.org/About-us/Pages/IFRS-Foundation-and-IASB.aspx
Israel, D. (2009). Data Analysis in Business Research: A Step-By-Step Nonparametric Approach. New Delhi: SAGE Publications India.
Lan, J. (2012). 16 Financial Ratios for Analyzing a Company’s Strengths and Weaknesses. Retrieved April 25, 2017, from http://www.aaii.com/journal/article/16-financial-ratios-for-analyzing-a-companys-strengths-and-weaknesses.touch
Lucas, M., Lowth, G., & Prowle, M. (2013). Management Accounting Practices of (UK) Small-Medium-Sized Enterprises (SMEs) (Research No. 9(4)). London: Chartered Institute of Management Accountants.
Minority Business Development Agency. (2010, August 6). Financial Strength and Ratio Analysis. Retrieved April 25, 2017, from https://www.mbda.gov/news/blog/2010/08/financial-strength-and-ratio-analysis
Nachar, N. (2008). The Mann‐Whitney U: A Test for Assessing Whether Two Independent Samples Come from the Same Distribution. Tutorials in Quantitative Methods for Psychology, 4(1), 13-20.
Nobes, C. (2011). International Variations in IFRS Adoption and Practice. London: The Association of Chartered Certified Accountants.
Rao, P. M. (2012). Fundamentals of Accounting for CPT. PHI Learning Pvt. Ltd.
Sahaf, M. A. (2013). Management Accounting: Principles & Practice (3rd ed.). New Delhi: Vikas Publishing House.
Sen, A., & Srivastava, M. (1997). Regression Analysis: Theory, Methods, and Applications. New York: Springer Science & Business Media.
Shapiro, S. S., & Wilk, M. B. (1965). An analysis of variance test for normality (complete samp1es)t. Biometrika, 52(3, 4), 591.
Student. (1908). Probable error of a correlation coefficient. Biometrika, 6(2–3), 302–310.
UCLA Institute for Digital Research and Education. (2017). Choosing the Correct Statistical Test in SAS, Stata, SPSS and R. Retrieved January 8, 2018, from https://stats.idre.ucla.edu/other/mult-pkg/whatstat/
Uddin, R., Biswas, T., Julfikar, A., & Khatun, M. (2017). Accounting Practices of Small and Medium Enterprises in Rangpur, Bangladesh. Journal of Business & Financial Affairs, 6(4), 1–7.

Translated Thai References
Aroonpairojanakul, Kajornkiat. (2016). What SMEs could gain more than tax exempt by adopting the single accounting practice. Retrieved November 6, 2016, from http://www.efinancethai.com/MoneyStrate gist/file/index.aspx?release=y&id=972&file_name=ms_20160218&symbol=MS. (in Thai)
Aroonrat, Kanyapach. (2014). Factors for Choosing Inventory Valuation Policy that Affect Financial Status and Return of Listed Company in MAI. APHEIT Journal. 20(2), 69-78. (in Thai)
Fiscal Information Section, Office of Office of the Permanent Secretary to Ministry of Finance. (2016). Measure for Single Accounting, Excempt and Deduction of Corporate Income Tax foe SMEs. Ministry of Finance Newsletter, 1(2529), 1. (in Thai)
Phornprapha, P. (2014). The Access to Sources of Fund for Thai Small and Medium Enterprises. In 1 st National and International Conference on Humanities and Social Sciences. Bangkok, THAILAND. Retrieved October 8, 2017, from https://www.scribd.com/document/246270237/The-Access-to-Sources-of-Fund-for-Thai-Small-and-Medium-Enterprises.(in Thai)
Security Exchange of Thailand. 2018. Companies/Securities in Focus. Retrieved February 8, 2018 https://portal.set.or.th/mai/stockslookup.do?locale=en_US
Sektrakul, Krisada. (2015). Analysis of Financial Statements. Bangkok: Security Exchange of Thailand. (in Thai)
Thongraks, Wassamon. (2011). Factors Relating to the Reliability of Financial Staement of SMEs in the View of Loan Analysts. (Master Degree Thesis). Bangoho: Thamasat University. (in Thai)
Tirasriwath, Amara. (2012). Accounting Information Problems which are The Obstacles to SMEs Financing. APHEIT Journal, 8(2), 186-197. (in Thai)
Wasawanawath, Tanyaras. (2015). The Accounting Policy in Cost Based Inventory Valuation of Listed Companies in The Stock Exchange of Thailand. Bangkok, Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Wisetsingh, Apinya. (2013). Accounting Practice of SMEs in Bhasrichareon District, Bangkok. Bangkok: Suansunadha Rajabhat University. (in Thai)
Worawudhijongsatit, Bhanni. (2015). Tax and Accounting for SME: SME and Accounting Practice. Retrieved April 25, 2017, from http://www.smartsme.tv/content/17964. (in Thai)