ความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

โสรยา สุภาผล
วรรณภา ลือกิตินันท์

Abstract

บทคัดย่อ 

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพของบุคลากรสายวิชาการ และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 224 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรที่มีตำแหน่งแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพแตกต่างกัน และบุคลากรที่ทำงานในศูนย์พื้นที่ที่แตกต่างกันมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพที่แตกต่างกัน ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพ พบว่า ความเชื่อมั่นในตนเอง และนโยบายองค์การส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพของบุคลากร 

คําสําคัญ: ความมุ่งมั่น, ความก้าวหน้าในสายอาชีพ, ตำแหน่งทางวิชาการ, การพัฒนาสายอาชีพ

Abstract

            This research had a purpose to compare the commitment to develop a career path of the academic staffs and their opinion toward the commitment to develop a career path based on the personal factors; and to study the affecting factors on the commitment to develop a career path of the academic staffs at Rajmangala University of Technology, Suvarnabhumi.  This research was a survey research that the sample group was the 224 academic staffs at Rajmangala University of Technology,Suvarnabhumi selected through the cluster sampling and used the questionnaire as a data collecting tool. The statistics used in the study were the frequency, percentage, average, standard deviation. Independent t-test. One-way analysis of variance and Multiple regression analysis. The result of the study found that the staffs with the different position had the different opinion toward the factors affecting the commitment to develop a career path and the staffs in the different working area had the different level of commitment to develop a career path. The analysis of the factors affecting the commitment to develop a career path indicated that the self-confidence and organization policies affected the commitment to develop a career path.

Keyword: commitment, the advance in a career path, academic position, the development in a career path

Article Details

How to Cite
สุภาผล โ., & ลือกิตินันท์ ว. (2017). ความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(25), 78–87. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/85629
Section
บทความวิจัย