การเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้การให้บริการการรับซื้ออ้อยของบริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรมจำกัด: กรณีศึกษา หน่วยส่งเสริมชาวไร่อ้อย เขต 8 และเขต 9

Main Article Content

กนก จุฑามณี
ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์
นตา เตชะบุญมาส
พัชรีวรรณ พุ่มธรรมชาติ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้การให้บริการการรับซื้ออ้อยของบริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด 2) เปรียบเทียบระดับ ความคาดหวังการให้บริการรับซื้ออ้อยของบริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด และระดับการรับรู้การให้บริการรับซื้ออ้อยของบริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด ภายใต้ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยแตกต่างกัน

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาเฉพาะเกษตรกรที่ขายอ้อยให้กับบริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด จากประชากรเขตส่งเสริมชาวไร่อ้อยที่ 8 และเขตส่งเสริมชาวไร่อ้อยที่ 9 จำนวน 190 คน โดยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จึงกำหนดกลุ่มตัวอย่าง    2 เขต มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 190 คน

ผลการวิจัยพบว่า  1) ค่าเฉลี่ยความคาดหวังต่อคุณภาพบริการโดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ตามลำดับดังนี้ ด้านความน่าเชื่อถือ  ด้านการเข้าใจลูกค้าหรือผู้รับบริการ ด้านการเข้าถึงบริการ ด้านสมรรถนะการให้บริการ  และด้านลักษณะของการบริการ ส่วนค่าเฉลี่ยการรับรู้คุณภาพบริการโดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ตามลำดับดังนี้ ด้านการเข้าใจลูกค้าหรือผู้รับบริการ ด้านการเข้าถึงบริการ ด้านสมรรถนะการให้บริการ       ด้านลักษณะของการบริการ และด้านความน่าเชื่อถือ  2) เปรียบเทียบระดับความคาดหวังการให้บริการรับซื้ออ้อยของ บริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรมจำกัดและระดับการรับรู้การให้บริการรับซื้ออ้อยของ บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด ที่มีข้อมูลเกษตรกรชาวไร่อ้อยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ 1) ด้านความน่าเชื่อถือ 2) ด้านการเข้าถึงบริการ 3) ด้านสมรรถนะการให้บริการ 4) ด้านการเข้าใจลูกค้าหรือผู้รับบริการ 5) ด้านลักษณะของการบริการ

คำสำคัญ: คุณภาพการบริการ, การรับรู้, ความคาดหวัง

Abstract

             This paper is a survey research. Aims to 1) Study expectations and perceptions service level for purchased sugarcane of Thai roong ruang industrial co., ltd.   2) The comparison between expectations and perceptions service level for purchased sugarcane of Thai roong ruang industrial co., ltd. Under the different information of Sugarcane Planter.

The population in this study. Conducted a study on sugarcane farmers selling  to the company in unit promote sugarcane planters area 8 and 9. Using is non-probability sampling technique and  Purposive sampling. A sample of 190 people.

The results of this study 1) Average expectations for the quality of services provided by different statistical significance at the 0.05 level. Respectively Reliability, Responsiveness, Empathy, Assurance and Tangibles as for Average perceptions for the quality of services provided by different statistical significance at the 0.05 level. Respectively Responsiveness, Empathy, Assurance and Reliability 2) The comparison between expectations and perceptions service level for purchased sugarcane of Thai roong ruang industrial co., ltd. By different statistical significance at the 0.05 level. Respectively Reliability, Empathy, Responsiveness, Assurance and Tangibles

Keyword: SERVQUAL, Satisfaction, Expectations

Article Details

How to Cite
จุฑามณี ก., เหล่าเขตการณ์ ฉ., เตชะบุญมาส น., & พุ่มธรรมชาติ พ. (2017). การเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้การให้บริการการรับซื้ออ้อยของบริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรมจำกัด: กรณีศึกษา หน่วยส่งเสริมชาวไร่อ้อย เขต 8 และเขต 9. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(25), 56–67. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/85611
Section
บทความวิจัย