แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิชาชีพบัญชี ในประเทศไทย

Main Article Content

สมชาย เลิศภิรมย์สุข
พยอม วงศ์สารศรี
อังคณา นุตยกุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ในปัจจุบัน และบทบาทในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี และพัฒนาแนวทางในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย ผู้วิจัยสังเคราะห์ข้อมูลกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย และทำ การตรวจสอบยืนยันแนวทางดังกล่าวด้วยการวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ทั่วประเทศ จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9355

ผลการวิจัย พบว่า สภาพการเรียนรู้ของวิชาชีพบัญชี พบปัญหาต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ การเรียนรู้เป็นแบบถูกบังคับให้ต้องเรียนรู้ตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนใหญ่เป็นการอบรมสัมมนา หลักสูตรมีลักษณะพื้นฐานทั่วไปมากกว่าหลักสูตรเฉพาะ เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ วิทยากรหลายท่านไม่มีประสบการณ์ตรงในเรื่องที่อบรม การอบรมมีค่าใช้จ่ายสูง และขาดการประเมินผลหลังการเรียนรู้, ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชียังไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ และไม่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ บัณฑิตทางบัญชียังไม่พร้อมที่จะทำงานและพร้อมที่จะเรียนรู้, ความรู้ที่นำมาจัดอบรมสัมมนาไม่ทันสมัย ไม่ตรงกับความต้องการหรือการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้เรียน , ระบบการจัดการทางเทคโนโลยีไม่ดีพอ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีส่วนหนึ่งยังไม่คุ้นเคยกับการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี นอกจากนี้ พบว่า องค์กรที่ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานบางแห่งยังไม่สนับสนุนการเรียนรู้ และหน่วยงานกำกับดูแลยังส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ไม่เพียงพอ ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ “ALERT” เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย แนวทางนี้ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ (Awareness) การเรียนรู้ (Learning) การประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation) การให้รางวัล (Reward) และเทคโนโลยี (Technology) ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบแนวทางในการพัฒนาฯ นี้ ด้วยการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ ก่อนนำไปตรวจสอบยืนยันด้วยการวิจัยเชิงปริมาณกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทั่วประเทศ พบว่า ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเห็นด้วยมากที่สุดกับแนวทางด้านเทคโนโลยี (Technology) ด้านการตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ (Awareness) และด้านการเรียนรู้ (Learning) และเห็นด้วยมากกับแนวทาง ด้านการให้รางวัล (Reward) และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation)

 

AN APPROACH TO DEVELOPMENT OF LEARNING ORGANIZATION FOR ACCUTING PROFESSION IN THAILAND

The objectives of this study were to study the current status of the accounting professions’ learning and the role in developing learning organization of the organization related to accounting profession, and develop the guidelines for learning organization to the accounting profession inThailand. This study was based on both qualitative and quantitative. The qualitative research included the analysis of the documents, the key informant interviews, and focus group discussions with stakeholders in the Accounting inThailand. The guidelines for learning organization to the accounting profession were synthesized and verified with quantitative research. The sample consisted of 400 accounting professions were collected nationwide. The instrument of this study was the questionnaire constructing by the researcher, and the reliability was 0.9355.

The results were found that  there were many problems in the accounting professions’ learning as follows; Learning under compulsory attendance law and mostly in the training seminars, the common programs emphasizing on theoretical not practical, inexperience trainers, high cost of training, lack of the assessments after learning, not realized the benefits of learning and not engaged in the learning, not ready to work and ready to learn accounting graduate, not advanced in or less utilized trained knowledge, not good enough technology management system, and unfamiliar accounting professions with the learning by technology. In addition, some professionals enterprises had not supported the learning in the organization, and the Regulatory agencies had not enough promoted and supported the accounting profession learning. An approach to development of learning organization for accounting profession in Thailandwas “ALERT” model. This model consists of five elements; Awareness, Learning, Evaluation, Reward, and Technology. The guidelines for learning organization to the accounting profession were verified by a focus group of experts prior to ascertain by nationwide surveying of accounting professions. It was found out that the accounting professions have strongly agreed on Technology, Awareness, and Learning and have agreed on Reward and Evaluation.

Article Details

How to Cite
เลิศภิรมย์สุข ส., วงศ์สารศรี พ., & นุตยกุล อ. (2016). แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิชาชีพบัญชี ในประเทศไทย. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 7(13), 65–78. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/57379
Section
บทความวิจัย