ความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงกลยุทธ์กับความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ

Main Article Content

ฉันทพิชญ์ อาริยะโรจน์กุล
เสาวภา มีถาวรกุล
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสำคัญของปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ (2) ความสำคัญของความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ (3) เปรียบเทียบการให้ความสำคัญของความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยเชิงกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ และ(5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงกลยุทธ์กับความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือบุคลากรของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 912 คน กำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  

ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการโดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ คือ ด้านกลยุทธ์ ด้านทักษะ ด้านรูปแบบการบริหารงาน ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านค่านิยมร่วม ด้านระบบ และด้านบุคลากร (2) ความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการโดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ คือ ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า(นักศึกษา) มากที่สุด รองลงมาคือด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และ ด้านนวัตกรรม (3) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาแตกต่างกัน (4) ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเชิงกลยุทธ์ในการจัดการศึกษา พบว่า อายุ ตำแหน่งหน้าที่ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเชิงกลยุทธ์ (5) ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ในการจัดการศึกษามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความสามารถทางการแข่งขันด้านประสิทธิภาพ ด้านคุณภาพ ด้านนวัตกรรม และด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า


RELATIONSHIP OF STRATEGIC FACTORS AND THE EDUCATION COMPETITIVENESS OF PRIVATE  UNIVERSITIES IN BENJAMITRA ACADEMIC NETWORK

The purposes of this research were: (1) to study the importance of strategic factors of private universities in Benjamitra academic network; (2) to find the importance of the abilities to compete in education of private universities in Benjamitra academic network; (3) to compare the importance of the abilities to compete in education of private universities in Benjamitra academic network; (4) to explore the relationship between personal factors and strategic factors in education management of private universities in Benjamitra academic network; and (5) to discover the relationship between strategic factors and educational competitiveness of private universities in Benjamitra academic network.

The population was 912 personnel of private universities in Benjamitra academic network. The sample size in this research comprised 400 personnel of private universities in Benjamitra academic network by stratified random sampling. Questionnaires were used as research tools. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square, t-test, F-test (One-way ANOVA)  and Pearson’s Correlation coefficient.

The results were as follows: (1) the importance of all strategic factors of private universities in Benjamitra academic network was rated at the high level. All aspects of these factors were at the high level including (a) strategy was the highest, (b) followed by skills, management styles, organizational structures, shared values, systems, and (c) personnel was the least; (2) the importance of the abilities to compete of private universities in Benjamitra academic network was rated at the high level. All aspects of these abilities were at the high level including (a) responding to meet the needs of customers (students) was the highest, (b) followed by quality and efficiency, and (c) innovation was the least; (3) there were significant differences between personal factors of sex, education level, and position and the importance of the abilities to compete ; (4) personal factors related to strategic factors in education of age and position statistically significantly related to strategic factors; and (5) strategic factors statistically significantly related to the abilities to compete in term of efficiency, quality, innovation, and responsiveness to customer needs.

Article Details

How to Cite
อาริยะโรจน์กุล ฉ., มีถาวรกุล เ., & วงศ์เชิดธรรม น. (2016). ความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงกลยุทธ์กับความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มเครือข่ายเบญจมิตรวิชาการ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 7(13), 55–64. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/57067
Section
บทความวิจัย