พฤติกรรมผู้นำที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคลากรในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร กรณีศึกษา : บริษัท แพนราชเทวี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ

Main Article Content

ขจรศักดิ์ อุดมศักดิ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคลากรในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร และเพื่อศึกษาพฤติกรรมของบุคลากรในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร วิธีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาเป็นผู้บริหารและบุคลากรของบริษัท แพนราชเทวี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ จำนวน 340 คน เครื่องมือในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น และตัวแปรตาม โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Regression Analysis) และการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรต้นต่อตัวแปรตาม โดยใช้การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างระบุพฤติกรรมของผู้นำด้านการกระตุ้นทางสติปัญญา อยู่ในระดับ มาก เพียง 1 พฤติกรรม ส่วนพฤติกรรมอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมของบุคลากรในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร ด้านก่อให้เกิดความคิดใหม่ และการรับรู้สิ่งที่เป็นโอกาสอยู่ในระดับ มาก ขณะที่ การพัฒนา และการใช้ในเชิงพาณิชย์อยู่ในระดับ ปานกลาง สำหรับผลการวิเคราะห์สมการถดถอยความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำ และพฤติกรรมของบุคลากรในการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร พบว่า มีเพียง 2 พฤติกรรมผู้นำที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคลากรในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร คือ (1) พฤติกรรมด้านการเป็นแบบอย่างและการกระตุ้นทางสติปัญญาส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคลากร ใน 3 ด้าน คือ การก่อให้เกิดความคิดใหม่ การรับรู้สิ่งที่เป็นโอกาส การพัฒนา (2) พฤติกรรมด้านการให้ความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคลากรส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคลากรด้านการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ จากการวิเคราะห์อิทธิพลของพฤติกรรมผู้นำโดยใช้การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) พบว่าพฤติกรรมผู้นำมีอิทธิพลเชิงบวกโดยตรงกับการก่อให้เกิดความคิดใหม่ การก่อให้เกิดความคิดใหม่มีอิทธิพลเชิงบวกโดยตรงต่อการรับรู้สิ่งที่เป็นโอกาส และการพัฒนา การรับรู้สิ่งที่เป็นโอกาสมีอิทธิพลเชิงบวกโดยตรงต่อการพัฒนา และการพัฒนามีอิทธิพลเชิงบวกโดยตรงต่อการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

 

LEADER’S BEHAVIORS THAT INFLUENCE EMPLOYEE’S BEHAVIORS TO FORM INNOVATIVE CULTURE IN THE ORGANIZATION: A CASE STUDY OF PAN RAJDHEVEE GROUP PUBLIC COMPANY LIMITED AND AFFILIATED COMPANIES

The purposes of the study were twofold: (1) to study how leaders’ behaviors influence employees’ behaviors to form the innovative culture in the organization and (2) to study employees' behaviors that form the innovative culture.. The population was the managers and the staffs at all levels in Pan Rajdheevee Group Public Company Limited and its affiliated companies totaled 340 subjects. The instruments used were self-administered questionnaires. Data were analyzed using mean, standard deviation, factor analysis technique, Stepwise Regression Analysis and Path Analysis Technique.

The study revealed that the samples identified the leaders’ behavior in the aspect of intellectual stimulation in the high position. All the other behaviors were in the medium positions. The employees’ behaviors that form the innovative culture in the aspects of idea generation and opportunity recognition were indentified in the high positions while development and commercialization were identified in the medium positions. The findings of the stepwise regression analysis are conformed in the way that there are only two leaders’ behaviors which influence the employees’ behaviors that form the innovative culture. These are innovative role modeling and intellectual stimulation and recognition the success behaviors. The first one influences the three aspects of the innovative culture. However, the second one influences the innovative culture only in the aspect of commercialization. According to the Path Analysis, the study found that leaders ‘behaviors positively and directly influence employees’ behaviors in the aspect of Idea Generation. The employees’ behaviors in the aspect of Idea Generation positively and directly influence employees’ behaviors in the aspect of Opportunity Recognition. Meanwhile, the employees’ behaviors in the aspect of Idea Generation also positively and directly influence employees’ behaviors in the aspect of Development. The employees’ behaviors in the aspect of Opportunity Recognition positively and directly influence employees’ behaviors in the aspect of Development. The employees’ behaviors in the aspect of Development positively and directly influence employees’ behaviors in the aspect of Commercialization.

Article Details

How to Cite
อุดมศักดิ์ ข. (2016). พฤติกรรมผู้นำที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคลากรในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร กรณีศึกษา : บริษัท แพนราชเทวี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 7(14), 93–105. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/57048
Section
บทความวิจัย