การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

มาลัย เอี่ยมจำเริญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และปัญหาในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่อำเภอบางพลี จำนวน 400 คน การศึกษาเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data)

ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ในด้านการทิ้งขยะมูลฝอย พบว่า มีจำนวนถังขยะอย่างเหมาะสม มีการจัดทำข้อบัญญัติในด้านการจับปรับในการทิ้งขยะไม่ถูกที่ และประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ ในด้านการจัดการขยะมูลฝอย มีเจ้าหน้าที่ทำการเก็บขยะอย่างเพียงพอ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความสุภาพ และสามารถแก้ปัญหาร้องเรียนเรื่องขยะได้เป็นอย่างดี และมีการกำหนดช่วงเวลาในการให้บริการเก็บขยะ ในด้านการเก็บรวบรวมและการขนส่ง มีการกำหนดเส้นทางการจัดเก็บขยะครอบคลุมทุกพื้นที่ จัดเก็บขยะตรงเวลาและสม่ำเสมอ มีการกำหนดเวลาและจำนวนเที่ยวรถเก็บขยะ และมีการตรวจสอบและจัดเก็บขยะที่ตกหล่นจากการขนย้ายไปกำจัด และสุดท้ายในด้านการกำจัดขั้นสุดท้าย มีสถานที่ทำลายขยะมูล มีการกำจัดขยะถูกสุขลักษณะ มีการแปรสภาพขยะมูลฝอยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น และมีการแยกทำลายตามลักษณะของขยะ

สำหรับปัญหาและข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอย พบว่ายังมีปัญหาต่างๆในการจัดการขยะมูลฝอย เช่นปริมาณและลักษณะของขยะมูลฝอย การคัดแยกจัดเก็บและขนขยะมูลฝอย ยานพาหนะที่ใช้ในการเก็บขนขยะมูลฝอย นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านงบประมาณและบุคลากร ส่วนข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการขยะคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักวิธีกำจัดขยะที่ถูกต้อง และวิธีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ควรมีการแปรสภาพขยะมูลฝอยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ควรเพิ่มช่วงเวลา/เที่ยวรถในการจัดเก็บขยะมูลฝอย และเพิ่มงบประมาณ เช่น งบประมาณด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น และอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน

 

HOUSEHOLD GABAGE MANAGEMENT IN THE AREA OF BANGCHALONG SUBDISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION, BANGPLEE DISTRICT, SAMUTPRAKARN PROVINCE

This research had the objective to study the management of solid waste and obstacles encountered by the Ban Chalong Tambon Administrative Organization (TAO) in Bangplee District of Samut Prakarn Province. Data were collected from a sample of 400 residents of the district.

This study found that there is an appropriate number of waste containers. There are laws and fines for littering or improper garbage dumpling. The local community participates in waste management. There are enough sanitation staff to manage waste collection and disposal. Staff are polite and address grievances about garbage collection. There are specific and regular times for garbage collection. Collection covers the entire TAO area. There is a solid waste treatment plant which destroys the garbage hygienically. Garbage that can be recycled is recycled.

This study found some problems of waste management. The volume of waste is increasing and there is not enough separation by type of garbage. There are limitations of the garbage collection vehicles.

There are some budget personnel limitations. The TAO should conduct campaigns to improve community knowledge of proper waste sorting and disposal. There should be more use of the waste that can be recycled or transformed into usable resources. The frequency of garbage collection should be increased. There should be more budget for staff development, training, materials and supplies.

Article Details

How to Cite
เอี่ยมจำเริญ ม. (2016). การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(15), 21–27. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56999
Section
บทความวิจัย