คู่มือในการปฏิบัติงานภาคสนามของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีการเกิดอัคคีภัย

Main Article Content

เนทา ทองธรรมชาติ

Abstract

การศึกษาอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิบัติงานภาคสนามของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีการเกิดอัคคีภัย เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไข และปรับปรุงกระบวนการ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานภาคสนามของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีการเกิดอัคคีภัยและสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานของท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 24 คน

ผลการศึกษาเป็นดังนี้ จากการศึกษา พบปัญหาและอุปสรรค ของการขาดแคลนงบประมาณและอุปกรณ์ภาคสนาม ขาดการประสานงาน เจ้าหน้าที่ไม่มีประสบการณ์ และผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้ศึกษาจึงจัดทำ คู่มือในการปฏิบัติงานภาคสนามของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีการเกิดอัคคีภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) คู่มือเตรียมการก่อนเกิดอัคคีภัย โดยการกำหนดมาตรการป้องกันภัย การเตรียมความพร้อมกำลังพนักงานและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงตลอด 24 ชั่วโมง การจัดทำแผนจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การฝึกอบรม การปฏิบัติตามแผนการฝึกซ้อมระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของหน่วยงานของรัฐและเอกชน โดยใช้วิทยุสื่อสาร 2) คู่มือดำเนินการเมื่อเกิดอัคคีภัย โดยการแจ้งเตือนภัยเมื่อเกิดอัคคีภัย การลดอันตรายและระงับภัยที่เกิดขึ้นการเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุอย่างทันทีทันใด จัดหาเครื่องอุปโภคและบริโภคให้แก่ผู้ประสบเหตุอัคคีภัย การอพยพผู้ประสบภัยและทรัพย์สินต่างๆไปไว้ยังสถานที่ปลอดภัย จัดเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ผู้ประสบภัย 3) คู่มือดำเนินการภายหลังเกิดอัคคีภัย โดยการจัดงบประมาณให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย การซ่อมแซมบูรณะสิ่งสาธารณประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณการเกิดอัคคีภัยในชุมชน จัดเวรยามให้ประชาชนเข้าเวรดูแลรักษาความปลอดภัยในชุมชน

ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลา หน่วยงานทางราชการควรให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน จัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวัง ปฏิบัติงานอย่างรวดเร็ว และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย รวมทั้งจัดให้มีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครหน่วยเคลื่อนที่เร็ว

 

OPERATING MANUAL FOR DISASTER PREVENTING AND RELIEF. IN CASE OF FIRE.

The objectives of independent study were to study the problems and obstacles operating in the field to preventing and relief in case of fire to identify the appropriate fix and process improvement to be able to work effectively including preparation for the operating manual for disaster preventing and relief in case of fire and can be used in operating of local and another agencies to work effectively by interview 24 persons those involved preventing and relief in case of fire in amphore Bangplee Samutprakan province.

The findings out of study encounter barriers were budget shortfall and field equipment, lack of coordination, inexperienced staff and administrator not featured. The operating manual for disaster preventing and relief in case of fire of the local subdistrict administration organization in amphore Bangplee Samutprakan province should have three parts. 1) The operating manual for disaster preventing and relief before the fire by protective measures preparedness and fire employees are 24 hours. Plan and procurement of materials, equipment and preventing and relief. Training and plan training between departments of public and private sector as well as coordination with agencies responsible in preventing and relief of public and private sector by using radio communication. 2) The operating manual for disaster preventing and relief when the fire by the fire alarm harm reduction and suspension of access to the disaster area scene instantaneously. Supply to the consumer a fire. Victims and evacuation assets into a safe location. Arranged security of life and property to the victims. 3) The operating manual for disaster preventing and relief after the fire by budgeting for aid to the victims. Restored the public. The damage to restored. Transmitters installed in the fire community. The sentries on duty to maintain public safety in the community.

The suggestion were relevant agencies should be to prepared at all the times. Government agencies should provide insight to the public. Established surveillance to work quickly and material support equipment including providing volunteer units faster.

Article Details

How to Cite
ทองธรรมชาติ เ. (2016). คู่มือในการปฏิบัติงานภาคสนามของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีการเกิดอัคคีภัย. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(17), 45–54. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56604
Section
บทความวิจัย