การประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยธนบุรี

Main Article Content

นภวรรณ แย้มชุติ
ไพรัช วงศ์ศรีตระกูล

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาความสัมพันธ์ของการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยธนบุรีจำนวน 130 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิ โดยใช้ตำแหน่งเป็นชั้นภูมิ แบ่งเป็นคณะผู้บริหาร 10 คน และคณาจารย์ 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารและคณาจารย์มีการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาจำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และคณะวิชาพบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า การจัดระบบบริหารจัดการ การจัดระบบบริหารงบประมาณ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม และการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

THE APPLICATION ON THE PHILOSOPHY OF SUFFICIENT ECONOMY IN HIGHER EDUCATION MANAGEMENT OF THONBURI UNIVERSITY

The purposes of this survey research were to study, compare, and find the relationships of the application on the philosophy of sufficient economy in higher education management. Sampling groups were 10 directors and 120 instructors in Thonburi University. These samples were selected by stratified random sampling from position. Tool for studying was a constructed questionnaire with reliability of 0.97. Statistics for data analysis were mean, standard error, t-test for independent groups, one-way ANOVA, and Pearson’s correlation coefficients.

The results found that the application on the philosophy of sufficient economy in higher education management in overall was at high level. Overall comparison of the philosophy of sufficient economy in higher education management found that there were not significant differences in position, degree in education, and faculty. The study of the relationships among management system, budget system management, curriculum development, instruction management, situation and environment management, supervision pursuit and assessment revealed that there were relationships with statistical significance at 0.01 level.

Article Details

How to Cite
แย้มชุติ น., & วงศ์ศรีตระกูล ไ. (2016). การประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยธนบุรี. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(17), 15–24. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56601
Section
บทความวิจัย