แนวทางเลือกในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับการช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น

Main Article Content

ประกายทิพย์ พิชัย
จุฑารัตน์ รุ่งจำรัส

Abstract

บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของคนก่อนวัยอันควร เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ แม้ทั่วโลกจะมีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ แต่พฤติกรรมการสูบบุหรี่ก็ไม่ลดลง กลับมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้สูบบุหรี่มีอายุน้อยลง ทั้งเพศหญิง และเพศชาย ทั้งนี้พฤติกรรมการสูบบุหรี่มักเริ่มต้นสูบบุหรี่ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น กลุ่มเพื่อนจะมีอิทธิพลมาก เนื่องจากเขาต้องการให้เพื่อนยอมรับ และคิดว่าสูบบุหรี่แล้วเท่ห์ อีกทั้งวัยรุ่นที่ไม่มีความพึงพอใจในตนเอง จะสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับตน โดยเลียนแบบพฤติกรรมคนดัง หรือบุคคลที่ตนชื่นชอบ ดังนั้นหากสามารถป้องกัน ระงับ ยับยั้ง หรือช่วยให้วัยรุ่นเลิกสูบบุหรี่ได้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสาธารณสุข และสังคมอย่างมหาศาล บทความนี้จึงได้รวบรวมเนื้อหา แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับบุหรี่ ทั้งในแง่ความสัมพันธ์ แนวทางการป้องกัน และการบำบัดเพื่อช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัย สำหรับการพัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยให้เลิกบุหรี่สำหรับวัยรุ่นต่อไป


ALTERNATIVE APPROACHES TO DEVELOPMENT OF A PROGRAM FOR SMOKING CESSATION AMONG ADOLESCENTS

Smoking is one of the most dominant factors to premature death and lethal diseases. Even though the rising awareness of quit smoking is promoted, numbers of smokers tend to significantly increase over time. Adolescents smokers, males and females, are apparently observed. Smoking behavior tends to emerge since the early stage of adolescents, which the quantities of changes considerably dominate their life ranging from physical, emotional and social changes. One of the main influential factors is friend who has a strong impact on sense of belonging and acceptance. Some view that smoking is a way to maturity and sex appeal. This is because the majority of teenagers does not have self-satisfaction and self-respected; consequently, they tend to smoke believing that they have greater personality trait and image. For this reason, they may imitate behavior from celebrities and their role models. Therefore, if one can prevent or restrain adolescents from undesirable behaviors; this would contribute a great deal to the public health and society. This paper integrates key literatures, conceptual frameworks and theories on smoking behaviors, which can be employed as a fundamental of this research for program development to reach the end goal for Smoking Cessation among Adolescents.

Article Details

How to Cite
พิชัย ป., & รุ่งจำรัส จ. (2016). แนวทางเลือกในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับการช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(19), 158–169. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56525
Section
บทความปริทัศน์