มารู้จักวิชาชีพการตรวจสอบภายใน

Main Article Content

สุนา สุทธิเกียรติ

Abstract

จุดมุ่งหมายของบทความนี้เพื่อนำเสนอภาพรวมของวิชาชีพการตรวจสอบภายในให้ผู้ที่สนใจและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รู้จักวิชาชีพนี้ซึ่งปัจจุบันเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการองค์กรการตรวจสอบภายในเป็นกิจกรรมให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร การตรวจสอบภายในได้มีวิวัฒนาการมานานและได้พัฒนาจนเป็นวิชาชีพ และมีสมาคมผู้ตรวจสอบภายในสากลทำการส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายในเป็นวิชาชีพที่มุ่งเน้นความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานโดยมีบทบาทในการประเมินกิจกรรมในองค์กร เพื่อให้งานตรวจสอบภายในเป็นที่เชื่อมั่นจึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานวิชาชีพตรวจสอบภายในทั้งด้านคุณสมบัติ ด้านการปฏิบัติ ด้านการให้คำปรึกษา ตลอดจนประมวลจรรยาบรรณ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในการตรวจสอบภายในจะเริ่มจากการวางแผนการตรวจสอบ การเตรียมการสำหรับงานตรวจสอบภายใน หลังจากนั้นจึงเป็นการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในภาคสนาม โดยมีหัวหน้าคณะตรวจสอบคอยกำกับดูแล และเมื่อเสร็จสิ้นการตรวจสอบจะจัดทำรายงานสรุปผล เสนอแนะแนวทางแก้ไขและภายหลังจากรายงานแล้ว ก็ต้องคอยติดตามผลต่อไป

 

TOO ACKNOWLEDGE INTERNAL AUDITING PROFESSION

Objectives of this abstract are to present the overview of the internal audit profession for the interested person and related person, in order to understand this profession, which have important roles to the organizational management, at present. Internal auditing is an independent, objective assurance and consulting activity designed to add value and improve an organization’s operations. Internal audit has been evolved for a long time and developed to be the profession. The internal audit is a profession that focuses on independent in operation with the role to evaluate the organization activities. In order for the assurance of the internal auditing, there are standards for the professional practice of internal auditing in attribute standards, performance standards, implementation standards and Code of Ethics, so as to be the framework of practice for the internal auditor. The internal auditing begins with the audit planning, preparation for the internal audit. The next step is to perform field work audit with the supervision by the audit supervisor. After the completion of the audit, the report is issued, recommendations are presented. After the reporting, the follow up of the audit result is continued.


Article Details

How to Cite
สุทธิเกียรติ ส. (2016). มารู้จักวิชาชีพการตรวจสอบภายใน. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(19), 130–138. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56518
Section
บทความวิชาการ