อิทธิพลของภาวะผู้นำร่วมและวัฒนธรรมโรงเรียนแบบร่วมคิดร่วมทำที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 2

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ กลับดี
มณฑป ไชยชิต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 2  2)  ศึกษาระดับวัฒนธรรมโรงเรียนแบบร่วมคิดร่วมทำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 2  3) สร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างภาวะผู้นำร่วม วัฒนธรรมโรงเรียนแบบร่วมคิดร่วมทำ และตัวแปรที่มาก่อนผลการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 2 ตัวอย่างเป็นข้าราชการครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐในเขตตรวจราชการที่ 2  จำนวน 320 คน ในปีการศึกษา 2556 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 2  อยู่ในระดับมาก 2)  ระดับวัฒนธรรมโรงเรียนแบบร่วมคิดร่วมทำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 2 อยู่ในระดับมาก 3) รูปแบบผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 2 ได้รับอิทธิพลทางตรงจากภาวะผู้นำร่วม และวัฒนธรรมโรงเรียนแบบร่วมคิดร่วมทำ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากภาวะผู้นำร่วม และวัฒนธรรมโรงเรียนแบบร่วมคิดร่วมทำโดยผ่านสิ่งที่มาก่อนผลการปฏิบัติงานของครู มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = .956, df =.833,GFI = .970, AGFI = .950, CFI= 1.00, NFI = .990, RMSEA= .000, SRMR = .033) ความแปรปรวนของผลการปฏิบัติงานของครูอธิบายได้ด้วยตัวแปรที่อยู่ในรูปแบบร้อยละ 90

 

INFLUENCE OF COLLECTIVE LEADERSHIP AND COLLABORATIVE SCHOOL CULTURE AFFECTING TO TEACHER JOB PERFORMANCE OF THE BASIC EDUCATION INSTITUTIONS IN THE INSPECTION AREA 2

The objectives of this research were to: 1) study levels of  collective leadership across the basic education institutions in the inspection area 2; 2) study levels of  collaborative school culture across the basic education institutions in the inspection area 2; 3) design the causal relationship between collective leadership, collaborative school culture and antecedents of teacher performance that affected teacher job performance of the basic education institutions in the inspection area 2. The data were collected from a sample of 320 teacher of the basic education institution in the inspection area 2 during the 2013 academic year using a questionnaire constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were descriptive statistics, correlation coefficient analysis, factor analysis and structural equation model analysis.

The finding revealed that 1)  levels of  collective leadership across the basic education institutions in the inspection area 2 were high; 2)  levels of  collaborative school culture across the basic education institutions in the inspection area 2 were high; 3) model of teacher job performance across the basic education institutions in the inspection area 2 has direct effect of collective leadership and collaborative school culture  and indirect effect of collective leadership and collaborative school culture through antecedents of teacher performance. This model is conformed to empirical data (Chi-Square = .956, df = .833,  GFI = .970, AGFI = .950, CFI = 1.00, NFI = .990, RMSEA = .000, SRMR = .033). collective leadership, collaborative school culture and antecedents of teacher performance revealed 90 percent of the variance of teacher job performance.

Article Details

How to Cite
กลับดี จ., & ไชยชิต ม. (2016). อิทธิพลของภาวะผู้นำร่วมและวัฒนธรรมโรงเรียนแบบร่วมคิดร่วมทำที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 2. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(19), 108–115. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56516
Section
บทความวิจัย