แนวทางการพัฒนาโครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์
Main Article Content
Abstract
การประยุกต์แนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในเยาวชน ถือว่าได้รับการยอมรับในต่างประเทศเป็นอย่างมาก เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในเชิงการป้องกัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน จุดเด่นของโปรแกรมที่นำแนวคิดการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมมาประยุกต์ใช้ได้แก่ 1) ความชัดเจนของแนวคิดที่ประกอบด้วยมาตรฐานและองค์ประกอบรายได้ (การตระหนักรู้ตนเอง การจัดการตนเอง การตระหนักรู้สังคม ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ และความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ) 2) การเลือกใช้รูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยและความจำเพาะ 3) เนื้อหากิจกรรมที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม และ 4) เกณฑ์ในการวัดความสำเร็จที่สามารถสังเกตได้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และมาตรฐาน
การวิจัยฉบับนี้ได้ทบทวนแนวคิดการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมและการประยุกต์ใช้อย่างครอบคลุมโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยอยู่บนพื้นฐานของการทบทวนแนวคิดทั้งทางทฤษฏีและงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ เจาะลึกในรายละเอียดตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จในการนำแนวคิดการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมมาใช้ ซึ่งพบว่าการดึงครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมส่งผลให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพมากกว่าการให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายเพียงหน่วยเดียว ซึ่งมันไม่เพียงพอต่อการสร้างผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระดับที่ลึกลงไป ดังนั้นการให้ความรู้ผ่านสื่อ แผ่นพับ หรือวีดีโอแก่ผู้ปกครอง ตลอดจนการเยี่ยมบ้านและชุมชนก็จะช่วยให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
THE GUIDELINE FOR DEVELOPING A PROJECT ON DRUG PREVENTION AND TREATMENT IN YOUTH BY SOCIAL AND EMOTINAL LEARNING (SEL) ACTIVITIES
The application of Social and Emotional Learning (SEL) for solving drug abuse in youth has been highly recognized abroad. The SEL has been considered as potential in prevention that can bring about the positive change in individual, family, school and community levels. The strong points of SEL are as follows: 1) the clear ideas and its components (Self-awareness, Self-management, Social awareness, Relationship skills, and Responsible decision-making), 2) the program implementation to suitable age-groups, 3) the comprehensive and specific contents of various activities for inter and individual groups, and 4) the relevant, objective, and standardized indicators of SEL.
This research aims to review the concepts of SEL and its application to problems of drug use. The organization of this study grounded on both the extant theories and research in Thai and Western literature. Also, an in-depth analysis of the successful SEL programs are delineated and discussed. Finally, the authors present the guideline for developing SEL programs, samples of given activities, program administration, program evaluation, and additional suggestions.