ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด : กรณีศึกษาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรรณา ทองเย็น

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภท รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหาร และรูปแบบการ บริหารงานในมิติต่างๆ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 ตัวอย่าง ซึ่ง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และการ วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (Multivariate Analysis of Covariance-MANCOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

จากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1. ผู้บริหารองค์การ ทุกประเภทมีรูปแบบภาวะผู้นำแบบชี้นำมากที่สุด รองลงมา คือ แบบปล่อยวางแบบมีส่วนร่วม และแบบส่งเสริม ตามลำดับ 2. ผู้บริหารทุกประเภทบริหารงานในลักษณะคล้ายกัน คือ ส่วนใหญ่คำนึงถึงมิติประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความรับผิดชอบต่อสังคม ซื่อสัตย์ เป็นธรรม โปร่งใส และการให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน 3. ประเภทผู้บริหารองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานใน 3 มิติ คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม การสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และความซื่อสัตย์ เป็นธรรม โปร่งใส ส่วนรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานใน 3 มิติ คือ การคำนึงถึงประสิทธิผล ความรับผิดชอบต่อสังคม และการสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น แต่ตัวแปรทั้งสองไม่มีอิทธิพล ร่วมกันต่อการบริหารงาน 4. ผู้บริหารองค์การที่มีภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมเป็นกลุ่มที่บริหารงานโดยคำนึงถึงทุกมิติสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำแบบชี้นำและแบบปล่อยวาง ตามลำดับ


THE RELATIONSHIP BETWEEN LEADERSHIP AND MANAGEMENT TO ACHIEVE MAXIMUM EFFICIENCY: A CASE STUDY OF LOCAL GOVERNMENT IN BANGKOK

This research aims to study the relationship between the type, style of leadership, management and administration in the form of various dimensions. The sample consisted of 380 samples of local government in which the tool used was a questionnaire, and this research has used statistics including frequency distribution, percentage, averaging and multiple analysis of covariance. (Multivariate Analysis of Covariance-MANCOVA) to determine the statistical significance level of 0.05.

The results of this research were: 1. Management organizations of all types are leadership and guidance the most, followed by the release, participatory, and promote, respectively. 2. Executives every administration in a similar manner, regardless of the dimension is the most efficient and effective, social responsibility, honesty, fairness, transparency and public participation in the management. 3. Executive Officers in relation to the management of the three dimensions of social responsibility, to meet the needs of local residents and to be honest, fair, transparent. Form part of the executive leadership organization with ties to the administration of the 3 dimension is to consider the effectiveness, social responsibility, and responding to the needs of local residents. But the two are not mutually influence on the administration. 4. The executive leadership organization that has engaged the group was managed by taking into account high dimensions. Followed by executive leadership and directs release, respectively. 

Article Details

How to Cite
ทองเย็น ว. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด : กรณีศึกษาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(19), 70–75. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56303
Section
บทความวิจัย