การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองตาไก้ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธานินทร์ ไชยเยชน์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาต้นทุนและรายได้ วิเคราะห์ผลตอบแทน และวิเคราะห์จุดคุ้มทุนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองตาไก้ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2553 ภายใต้สมมติฐาน 2 กรณี คือ กรณีรวมต้นทุนค่าแรงงานทางตรง และกรณีไม่รวมต้นทุนค่าแรงงานทางตรง โดยทั้งสองกรณี มีการวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย (NPM) จุดคุ้มทุน (BEP) ทั้งด้านรายได้จากการขายและปริมาณการขาย และทดสอบการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจุดคุ้มทุน ได้แก่ เมื่อต้นทุนวัตถุดิบทางตรงเพิ่มขึ้น และราคาขายเพิ่มขึ้น

ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณขายจำนวน 498 ผืน คิดเป็นรายได้รวมเท่ากับ 314,260 บาทต้นทุนรวมเท่ากับ 293,127.50 บาท ซึ่งต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าไหม ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายในการผลิต และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร โดยเกือบ 2 ใน 4 เป็นต้นทุนวัตถุดิบทางตรง เมื่อพิจารณาผลตอบแทนที่ได้ภายใต้สมมติฐานทั้งสอง พบว่า ค่อนข้างแตกต่างกันมาก เนื่องจากต้นทุนค่าแรงงานทางตรงมีสัดส่วนค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 31.02 ของต้นทุนรวม โดยกรณีรวมต้นทุนค่าแรงงานทางตรง ค่า ROI เท่ากับ ร้อยละ 5.19 ค่า NPM เท่ากับ ร้อยละ 6.72 ขณะที่จุดคุ้มทุนด้านรายได้จากการขายเท่ากับ 87,215.69 บาท และจุดคุ้มทุนด้านปริมาณขายเท่ากับ 91.40 ผืน ส่วนกรณีไม่รวมต้นทุนค่าแรงงานทางตรง ค่า ROI เท่ากับ ร้อยละ 35.40 ค่า NPM เท่ากับ ร้อยละ 35.66 ขณะที่จุดคุ้มทุนด้านรายได้จากการขายเท่ากับ 40,018.97 บาท และจุดคุ้มทุนด้านปริมาณการขาย 41.94 ผืน

เมื่อพิจารณาจุดคุ้มทุนภายใต้สถานการณ์ที่ต้นทุนวัตถุดิบทางตรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.33 และราคาขายเพิ่มขึ้นตามที่ทางกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองตาไก้ได้กำหนดขึ้นใหม่ ขณะที่ปัจจัยอื่นคงที่ พบว่า กรณีรวมต้นทุนค่าแรงงานทางตรง จุดคุ้มทุนด้านรายได้จากการขายเท่ากับ 47,602.46 บาท และจุดคุ้มทุนด้านปริมาณขายเท่ากับ 31.69 ผืน ส่วนกรณีไม่รวมต้นทุนค่าแรงงานทางตรง จุดคุ้มทุนด้านรายได้จากการขายเท่ากับ 33,596.28 บาท และจุดคุ้มทุนด้านปริมาณขายเท่ากับ 22.37 ผืน

เมื่อนำรายได้จากการขายและปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุน ในแต่ละสถานการณ์ไปเปรียบเทียบกับรายได้รวมเท่ากับ 314,260 บาท ปริมาณขายจำนวน 498 ผืน ในปี พ.ศ.2553 เห็นได้ว่า ผลตอบแทนที่ทางกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองตาไก้ได้รับค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ รายได้รวม และปริมาณขายที่ได้รับนั้น อยู่ในระดับที่สูงกว่ารายได้จากการขายและปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุน


THE ANALYSIS OF COSTS AND RETURNS ON SOUVENIR PRODUCTS OF BAN NONG TAKAI SILK WEAVING GROUP, BURIRAM PROVINCE

This study aimed to investigate about the cost and revenue, analyze the return, and analyze break-even point on souvenir products of Ban Nong Takai Silk Weaving Group, Buriram Province, of the year B.E. 2553 under two conditions: cost including direct labor and cost excluding direct labor. Both conditions were measured by return on investment (ROI), net profit margin (NPM), break-even point (BEP) in terms of both sale revenue and sale volume, and test the change of factors affecting break-even point; that is, when direct material cost increased and selling price increased.  

The findings revealed that of 498 pieces sold out were totally 314,260 baht of revenue from total 293,127.50 baht of cost. The costs involving souvenir products from silk included of direct material cost, direct labor cost, manufacturing overhead, and selling and administrative expenses; two of forth was direct material cost. Considering the return gained under the two conditions, it found that there was very different because direct labor cost was relatively high. It was 31.02 percent of total cost. In case of cost including direct labor, the ROI was 5.19 percent, the NPM was 6.72 percent, the BEP of sale revenue was 87,215.69 baht and the BEP of sale volume was 91.40 pieces. On the other hand, in case of cost excluding direct labor, the ROI was 35.40 percent, the NPM was 35.66 percent, the BEP of sale revenue was 40,018.97 baht and the BEP of sale volume was 41.94 pieces.

Considering the break-even point under the situation that direct material cost increased to 33.33 percent and the new increasing selling price was determined by the group while the other factors still remained the same, it found that, in case of cost including direct labor, the break-even point of sale revenue was 47,602.46 baht and the break-even point of sale volume was 31.69 pieces. For the case of cost excluding direct labor, the break-even point of sale revenue was 33,596.28 baht and the break-even point of sale volume was 22.37 pieces.

Taking the sale revenue and sale volume of the break-even point of each situation to compare with 314,260 of the total revenue and 498 pieces of the total sell quantity of the year B.E. 2553, it found that the return that Ban Nong Takai Silk Weaving Group received was satisfied because the total revenue and sale amount were higher than the sale revenue and sale volume received at the break-even point.

Article Details

How to Cite
ไชยเยชน์ ธ. (2016). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองตาไก้ จังหวัดบุรีรัมย์. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(19), 51–61. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56297
Section
บทความวิจัย