การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการบริการสังคมสำหรับนิสิตครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ประสาท เนืองเฉลิม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการบริการสังคมสำหรับนิสิตครูวิทยาศาสตร์ และศึกษาผลการเรียนรู้โดยการบริการสังคม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2/2556 จำนวน 45 คน การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสังเกต การเขียนสะท้อนคิด การบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตครูวิทยาศาสตร์มีการจัดกิจกรรมผ่านโครงการบริการสังคมในรูปแบบที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างนิสิตกับชุมชน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการ (Preparation) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) และขั้นสะท้อนคิด (Reflection) นิสิตครูได้รับการเติมเต็มความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับชุมชน สังคม และบ่มเพาะคุณลักษณะของความเป็นครูผ่านหลักสูตรแฝงที่เน้นการปฏิบัติ มีการอภิปรายความรู้ ประยุกต์ความรู้ และนำความรู้ไปใช้ด้วยกระบวนการกลุ่ม

 

DEVELOPMENT FOF SERVICE LEARNIN FOR PRESERVICE SCIENCE TEACHERS

The purpose of this research aims to develop preservice science teachers’ learning activities through service learning and also to study learning outcomes after intervention. Forty five participants, third year of preservice science teachers are target group. Descriptive research is employed by various kinds of collective methods. Observation, reflective journal, photography and video recording are used for collecting data. Finding can be explained that preservice science teachers can learn through service learning in which Preparation-Action-Reflection fulfill them to have learning based on experiential activities, let them to be good teachers, and improve themself by discussion, action, application, and group investigation.

Article Details

How to Cite
เนืองเฉลิม ป. (2016). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการบริการสังคมสำหรับนิสิตครูวิทยาศาสตร์. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(19), 30–39. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56288
Section
บทความวิจัย