เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยว เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของถนนคนเดิน จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบศักยภาพของพื้นที่และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์การท่องเที่ยวถนนคนเดิน ถนนท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับฝ่ายผู้บริหารจากเทศบาลนครเชียงใหม่ ผู้ประกอบการบริเวณถนนคนเดิน และนักวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพของพื้นที่ในภาพรวมมีค่าความสำคัญอยู่ในระดับมาก คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการเข้าถึง และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยปัจจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดได้ และด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวถนนคนเดินอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้มีรูปแบบการท่องเที่ยวถนนคนเดินที่หลากหลาย หาเอกลักษณ์หรือจุดเด่น ซึ่งต้องมีรูปแบบถนนคนเดินเฉพาะตัวให้เป็นเอกลักษณ์ของถนนคนเดิน เพื่อสร้างความแตกต่างกับแหล่งท่องเที่ยวถนนคนเดิน และมุ่งเน้นสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย การจัดระเบียบบนถนนคนเดิน ร้านค้า ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยปลูกจิตสำนึกถึงมิติของสถานที่ด้านวัฒนธรรม ประเพณี เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่างๆ ในมิติของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
SUITABLE CREATIVE ECONMY FOR TOURISTS ON ECOTOURISM DEVELOPMENT OF CHIANG MAI SUNDAY WALKING STREET
This research aims to study the potential of the area and creative economy development guideline of Chiang Mai Sunday walking street on Tha Pae Road, Chiang Mai. This work is both quantitative and qualitative research. A questionnaire was used to gather quantitative data from 400 Thai tourists. A qualitative data collected by in-depth interview with the administrative board of Chiang Mai municipality, Sunday walking street entrepreneurs and academics. The results showed that the overall potential of the area has important score in high level in term of attractive, accessible, and facilities. Overall factor of ecotourism development at the highest level, including physical description aspect, quality and environment aspect, economic and social aspect, as well as art and cultural administration and management aspect. The guidelines for sustainable tourism development of walking street are to focus on encouraging various patterns of walking street, find uniqueness or identity which make a difference to the other walking street. As well as focus on providing facilities such as organizing the clear walking area and tidy shops while also raising awareness on cultural and traditional aspect to provide knowledge in the various dimensions of sustainable tourism development.