แนวโน้มการใช้ e-Education ในการบริหารงานวิชาการสถาบันอุดมศึกษาของไทยในทศวรรษหน้า

Main Article Content

จักรกฤษณ์ สิริริน
สุชาดา นันทะไชย

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการใช้ e-Education ในการบริหารงานวิชาการสถาบันอุดม ศึกษาของไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2566) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1) การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อกำหนดขอบข่ายและรายละเอียดของแต่ละแนวโน้มการใช้ e-Education โดยการสังเคราะห์เนื้อหาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 21 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก 2) เครื่องมือวิจัย EDFR รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามแนวโน้มการใช้ e-Education ในการบริหารงานวิชาการสถาบันอุดมศึกษาของไทยในทศวรรษหน้าแบ่งเป็น 12 ด้าน จำนวน 197 ข้อ ชนิดมาตรประมาณค่า (rating scales) 5 ระดับ และคำถามเกี่ยวกับภาพอนาคตที่พึงประสงค์ แบบสอบถาม EDFR รอบที่ 2 ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนด้วยการหาค่า ioc (The Index Of Item-Objective Congruence) โดยผู้วิจัยพิจารณาคัดเลือกข้อความที่มีค่า ioc ตั้งแต่ 0.6 ขึ้นไป ได้จำนวน 197 ข้อ จาก 222 ข้อ นำแบบสอบถาม EDFR รอบที่ 2 ดังกล่าวไปเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 21 คน และนำกลับมาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน (median) ค่าฐานนิยม (mode) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (interquartile range) พร้อมกันนั้นนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach's Alpha) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 ได้เป็นแบบสอบถาม EDFR รอบที่ 3 การรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 21 คนด้วยเทคนิคเดลฟาย 2 รอบ เพื่อศึกษาแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้ มีภาพอนาคตที่พึงประสงค์ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน หาฉันทามติ (Consensus) ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยการคำนวณค่ามัธยฐาน  ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปทำนายแนวโน้ม

ผลการวิจัยแสดงว่า 1) แนวโน้มการใช้ e-Education ในการบริหารงานวิชาการสถาบันอุดมศึกษาของไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2566) ประกอบด้วย 12 ด้าน จำนวน 189 แนวโน้ม ได้แก่ 1) คุณลักษณะผู้เรียนและกระบวนการรับนักศึกษา 2) คุณลักษณะและกระบวนการพัฒนาบุคลากรสายการสอน 3) กระบวนการ วิจัย การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการผลิตตำรา 4) คุณลักษณะและกระบวนการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน 5) การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา  6) การบริหารหลักสูตร 7) การจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมนอกหลักสูตร 8) การประกันคุณภาพ 9) การวัดและการประเมินประสิทธิผลของผู้เรียน 10) การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 11) การบริการวิชาการ และ 12) การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ 2) แนวโน้มที่มีความเป็นไปได้ มีภาพอนาคตที่พึงประสงค์ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันจาก 12 ด้าน คือ แนวโน้มที่จะมีการสร้างและเชื่อมต่อฐานข้อมูลในการบริหารงานวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านต่างๆ ของการบริหารงานวิชาการ โดยเน้นไปที่การผลักดันให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานและสนับสนุน การใช้ e-Education ในการบริหารงานวิชาการสถาบันอุดมศึกษาของไทย รองลงมาคือแนวโน้มการนำระบบอิเล็คทรอนิกส์ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานวิชาการสถาบันอุดมศึกษาของไทยในทศวรรษหน้า

 

TRENDS OF E-EDUCATION ON ACADEMIC AFFAIR ADMINISTRATION IN HIGHER EDUCATION INSTITUTION OF THAILAND IN THE NEXT DECADE

The objectives of this research were to predict the next decade (2023) trends of e-Education on academic affair administration in higher education institution of Thailand. The methodology used was the EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) technique. It was carried out in two phases as follows. 1) Collection of qualitative data to be used as basic guidelines for frameworks of the trends by using content analyses from in-depth interviews with 21 experts. 2) Collection of quantitative data through two rounds of Delphi technique to solicit possibility, desirable future scenario and consensus among 21 experts. The data were analyzed in terms of median, mode, and inter-quartile range. The analyzed results were used for trends prediction. 

The research findings showed 189 trends classified into twelve aspects, of which some trends were commonly found.  Those aspects were 1) student attributes and admission process; 2) academic staff attributes and development; 3) research process, academic status promotion, and textbook publication; 4) attributes and development of nonacademic staff; 5) educational resources management; 6) curriculum administration; 7) instructional management and extra-curricular activities; 8) quality assurance; 9) assessment and evaluation of student effectiveness; 10) evaluations of graduate employers; 11) academic services; and 12) academic networking. As for the most feasible, desirable, and consensus trends among those twelve aspects, it was that of academic affair administration data and networking among higher education institutions and other agencies, emphasizing requisition for e-Education standardization and support for utilization of e-Education from the Commission of Higher Education, followed by that of the trends for utilization of modern electronics applicable to academic affair administration in the next decade.   

Article Details

How to Cite
สิริริน จ., & นันทะไชย ส. (2016). แนวโน้มการใช้ e-Education ในการบริหารงานวิชาการสถาบันอุดมศึกษาของไทยในทศวรรษหน้า. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(21), 44–55. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56134
Section
บทความวิจัย