แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ระดับส่วนประสมการตลาด ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรม และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณ จังหวัดกาญจนบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งไม่ ทราบจำนวนที่แน่นอน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้ตัวอย่างจำนวน 100 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ ระดับลึก จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือแบบสอบถามและแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ระดับลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก และการวิเคราะห์เนื้อหา  

ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในสถานที่ท่องเที่ยว 401-700 บาท ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยคือเพื่อน ผู้ที่ตัดสินใจในการท่องเที่ยวคือตัวเอง มาท่องเที่ยวครั้งแรก ช่วงวันที่เดินทางมาท่องเที่ยวคือวันเสาร์/วันอาทิตย์ มาท่องเที่ยว 3-4 คน ระยะเวลาที่ใช่ในการท่องเที่ยว 1 ชั่วโมง แหล่งข้อมูล เกี่ยวกับสถานที่จากเพื่อน/ครอบครัว วัตถุประสงค์เพื่อเที่ยวตามเทศกาลประจำปี และจะไม่กลับมาท่องเที่ยวซ้ำใน 6 เดือน 2) ระดับส่วนประสมการตลาดการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณ จังหวัดกาญจนบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระดับรายได้ และภูมิลำเนาปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวซ้ำ คือ ด้านสถานที่ท่องเที่ยวและด้าน สภาพแวดล้อม 5) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณ จังหวัด กาญจนบุรี ประกอบด้วย การพัฒนากิจกรรมทางศาสนาที่มีอัตลักษณ์ การกำหนดราคาที่ชัดเจนและเป็นธรรม การพัฒนา เส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการประชาสัมพันธ์เชิงรุก การพัฒนาศักยภาพด้านการ ท่องเที่ยว การจัดปฏิทินกิจกรรมการท่องเที่ยว และการร่วมพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวและของที่ระลึก  

 

GUIDELINE FOR RELIGION TOURISM DEVELOPMENT FOR SUPPORTING RETIREMENT COMMUNITY TOURIST IN KANCHANABURI 

The purpose of this research was to study behaviors, levels of marketing mixes, relationship between personal factor with behaviors and guideline for religion tourism development for supporting retirement community tourist in Kanchanaburi. The samples consisted of 100 tourists selected by simple random sampling and 5 key in-depth interview informants. A set of questionnaires and in-depth interview guidelines were constructed and used as tools to collect data. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, Logistic regression analysis and content analysis.  

The results shown that 1) retirement community tourists used their private cars, expensed range between 400-700 baht, traveled with friends, decided by themselves, first time travel, traveled on weekend, 3-4 persons in a group, spend one hour for visit, received information from friends and family, traveled in annual festival, do not expect to revisit in 6 months, 2) the tourism marketing mixes were in high level, 3) sex, marriage status, education level, income level and present resident has some relation with religion tourism behaviors, 4) factors affecting revisited cultural tourism were tourism place and environment, and 5) guideline for religion tourism development for supporting retirement community tourist in Kanchanaburi consisted of develop religion activities unique clear and just price, develop route to tourism place, develop aggressive public relation, develop tourism potential, prepare calendar of activity tourism and develop of tourism space and souvenir. 

Article Details

How to Cite
เหล่าพวงศักดิ์ พ. (2016). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณ จังหวัดกาญจนบุรี. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(21), 35–43. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56131
Section
บทความวิจัย