การเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในระบบราชการไทย : กรณีศึกษาเปรียบเทียบหน่วยงานราชการ และ รัฐวิสาหกิจ

Main Article Content

ไชยนันท์ ปัญญาศิริ

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในระบบราชการไทย และ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกระบวนการขององค์การ ภาครัฐ ผ่านกรณีศึกษาที่มีประชากรวิจัยเป็นพนักงานจากองค์การราชการและองค์การรัฐวิสาหกิจชั้นนำในประเทศ 6 สถาบัน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัยนี้ คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วยชุดคำถามเพื่อวัด ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถาม ระบบการบริหารจัดการในองค์การ การตระหนักรู้ต่อแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่(NPM) และ ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการในองค์การ โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับมาเป็นจำนวนทั้งสิ้น ร้อยละ 100 ของ ประชากรวิจัย เมื่อวัดจากค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุ ตัวแปรซึ่งมีค่าพยากรณ์สูงที่สุดต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ทางการบริหารราชการ เรียงตามลำดับคือ โครงสร้างองค์การ พันธกิจองค์การ วัฒนธรรมองค์การและ ความเป็นสถาบัน ขององค์การ

ข้อเสนอแนะในเชิงวิชาการและในเชิงการบริหารจัดการที่มาจากผลการวิจัยเชิงประจักษ์ ได้แก่ควรปรับขนาดของ องค์การโดยรวมทุกประเภท ให้มีขนาดเล็กและมีความคล่องตัวในเชิงการบริหารจัดการ โดยพิจารณาจากภารกิจเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงปัจจัยการบริหารจัดการด้านอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อมเชิงสถาบัน การบริหารจัดการยุทธศาสตร์ ความสามารถ ในการปรับใช้เทคโนโลยี ตลอดจน การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในองค์การ และ การปรับใช้แนวคิดการบริการ สาธารณะแนวใหม่ (New Public Service---NPS) ที่มุ่งเน้นมิติด้านความเป็นพลเมืองของและการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น

 

THE PARADIGM SHIFT OF PUBLIC ADMINISTRATION IN THAI BUREAUCRACY:  
A COMPARATIVE CASE STUDY OF THAI GOVERNMENT AGENCIES AND PUBLIC ENTERPRISES.

The aims of this article is to study organizational managerial factors affecting the paradigm shift of Public Administration in Thai Bureaucracy and to study the process management efficiency of Thai public organization. The populations of this case study are the officials from six Thai leading government agencies and public enterprises.

The data collection tool is a questionnaire which inclusive of question items measuring demographic data, organization management system, perception toward the New Public Management concept and organizational process management efficiency. One hundred percent of the questionnaire forms distributed to the population of the study have been answered and recollected. Multiple Regression statistical method indicates the predictability of the factors affecting the paradigm shift of Thai public administration including organization structure, mission of the organization, organizational culture and institutionalism, consecutively.

Based on the empirical results of this study, there are several constructive recommendations, academically and practically, including the downsizing of all kinds of government agencies to become mission driven and to allow more agility in administering them. Moreover, the other crucial factors to be improved are institutional environment, strategic management, technological adaptability, staffs’ competency development and the implementation of the New Public Service—NPS concept that encourages civic conscious and people participation.

Article Details

How to Cite
ปัญญาศิริ ไ. (2016). การเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในระบบราชการไทย : กรณีศึกษาเปรียบเทียบหน่วยงานราชการ และ รัฐวิสาหกิจ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(21), 9–19. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56125
Section
บทความวิจัย