แนวทางการพัฒนาความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องนี้มีเนื้อหาประกอบด้วย 1. ความฉลาดรู้การอ่าน หมายถึง ความสามารถเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน นำความรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ มาประกอบกันเพื่อตีความสิ่งที่อ่าน ตลอดจนประเมินคุณค่าของสิ่งที่อ่านแล้วประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการอ่านมาสร้างเป็นแนวคิดของตนได้ สังเคราะห์องค์ประกอบมี 3 ประการ ดังนี้ 1) การเข้าถึงและค้นคืนสาระ 2) การบูรณาการและการตีความ และ 3) การสะท้อนและประเมิน 2. การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus เป็นแนวทางในการสอนอ่านควบคู่กับการส่งเสริมความคิดขณะที่อ่าน 3. ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี เป็นการนำข้อมูลเรื่องราวที่อยู่ในถิ่นฐานการดำเนินชีวิตของคนในจังหวัดปทุมธานีที่ผู้เรียนอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน ประกอบด้วยเนื้อหาตามคำขวัญของจังหวัดปทุมธานีที่ว่า ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม มาเป็นเนื้อหาให้ผู้เรียนได้ศึกษา 4. แนวทางการพัฒนาความฉลาดรู้การอ่านโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการพัฒนาทักษะการอ่านของผู้เรียน ประกอบเข้ากับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plusร่วมกับการนำข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีมาใช้ประกอบเป็นเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการอ่านโดยเริ่มจากข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวผู้เรียนและเกิดการพัฒนาทักษะการอ่านในระดับที่ยากขึ้นต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะส่วนบุคคลของผู้เขียนซึ่งต้องรับผิดชอบต่อผลทาง กฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้และไม่มีผลต่อกองบรรณาธิการReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ทัศนีย์ ชาวปากน้ำ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนอ่านเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 6(1), 117-128.
ฟาร่า สุไลมาน และนูรอัสวานี บอตอ. (2566). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่บูรณาการ บริบทท้องถิ่นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในจังหวัดยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สถาบันการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). ผลการประเมิน PISA 2022. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญตัิการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2567). ประวัติความเป็นมาจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2567, จาก http://www2.pathumthani.go.th
Cain, K., & Oakhill, J. (2020). Reading comprehension and vocabulary: The chicken and the egg?. Reading Research Quarterly. 55(1), 65-80.
Carr. E., & Ogle. D. (1986). K-W-L; A teaching model that develop active reading of expository text. The Reading Teacher. 39(1), 564-570.
Carr. E., & Ogle. D. (1987). KWL Plus: A strategy for comprehension and summarization. Journal of reading. 30(7): 626-631.
Conner, J. (2004). Instructional Reading Strategies: KWL (Know, Want to Know Learn). Retrieved from http://www.indiana,Adu/-L517/kw
Matini, D. (2007). Strategies. Retrieved from http://units.Muohio.edu/ezpdet 346e/fall-2000/GroupNine/Strategies.htm
OCED. (2013). PISA 2015 draft reading literacy framework. Retrieved from http://www.oced.org/pisa/pisaproducts/Draft%20PISA%2015%20reading%20Framework%20.pdf.
OECD. (2019). PISA 2018 Assessment and Analytical Framework. Paris: OECD Publishing.
Ogle, D. M. (2010). KWL-Plus: A Strategy to Help Students Learn from Text. The Reading Teacher. 64(5), 352-356.
Translated Thai References
Chaowakam, T., & Nilphan, M. (2014). Development of English Reading Skills Exercises Based on Communicative Reading Instruction Using Local Knowledge of Nakhon Pathom Province for Tenth-Grade Students. Silpakorn Educational Research Journal. 6(1), 117-128. (in Thai)
Institute for the Promotion of Science and Technology Education, Ministry of Education. (2020). Digital Action Plan for Education B.E. 2563-2565 (2020-2022). Bangkok: Information and Communication Technology Center. (in Thai)
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2023). PISA 2022 Results. Retrieved February 9, 2024, from https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21 (in Thai)
Ministry of Education. (2011). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (2008). 3rded. Bangkok: Agricultural Cooperative Association of Thailand Limited Printing House. (in Thai)
Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (2017). Policy of the Office of the Basic Education Commission. Bangkok: Usa Publishing. (in Thai)
Office of the National Education Commission. (2002). National Education Act B.E. 2542 (1999). Bangkok: Office of the National Education Commission. (in Thai)
Pathum Thani Provincial Office. (2024). History of Pathum Thani Province. Retrieved March 23, 2024, from http://www2.pathumthani.go.th (in Thai)
Suliman, F., & Boto, N. (2024). Research Report on the Development of English Grammar Instructional Media Integrated with Local Context through Teacher Participation in Yala Province. Yala: Yala Rajabhat University. (in Thai)