การประเมินโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานและเสริมสร้างศักยภาพองค์กรภาครัฐในระยะเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรสุขภาวะ
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, การเสริมสร้างสุขภาวะ, องค์กรสุขภาวะ, การขับเคลื่อนนโยบายบทคัดย่อ
การประเมินโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานและเสริมสร้างศักยภาพองค์กรภาครัฐในระยะเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรสุขภาวะเป็นการวิจัยประเมินผลสรุป ใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อประเมินผลลัพธ์และการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานและเสริมสร้างศักยภาพองค์กรภาครัฐในระยะเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรสุขภาวะ (2) เพื่อประเมินกระบวนการขับเคลื่อนแนวคิดองค์กรสุขภาวะของโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานและเสริมสร้างศักยภาพองค์กรภาครัฐในระยะเปลี่ยนผ่าน (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานและศักยภาพองค์กรภาครัฐ รวมถึงบทบาทของรัฐบาล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานในระยะต่อไป ผลการประเมินพบว่า ด้านผลลัพธ์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของโครงการมีผลการประเมินระดับดี (ร้อยละ 46.15) ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ที่โครงการกำหนดไว้มีผลการดําเนินงานบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด (ร้อยละ 88.88 และร้อยละ 100) ผลประเมินกระบวนการขับเคลื่อนแนวคิดองค์กรสุขภาวะในขั้นตอนการขับเคลื่อนนโยบาย และการสร้างวัฒนธรรมการขับเคลื่อนที่ไม่กลับสู่สภาพเดิม มีผลสำเร็จอยู่ในระดับต่ำกว่าขั้นตอนการสร้างพื้นฐานการขับเคลื่อนแนวคิดองค์กรสุขภาวะ การทำความเข้าใจปัญหาการขับเคลื่อนนโยบาย และการวางแผนการขับเคลื่อนนโยบาย ข้อเสนอแนะมี 4 ด้านคือ ด้านการดำเนินงานและการบริหารจัดการของโครงการ ด้านการขับเคลื่อนแนวคิดองค์กรสุขภาวะของโครงการ ด้านการขับเคลื่อนแนวคิดองค์กรสุขภาวะในองค์กร และด้านนวัตกรรมของโครงการ
References
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2554). คู่มือความสุข 8 ประการในที่ทำงาน HAPPY WORK PLACE. https://www.thaihealth.or.th/?p=232292
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). แผนหลัก สสส. ๒๕๕๘-๒๕๖๐. https://www.thaihealth.or.th/Books/แผนหลัก+สสส.+2558-2560.html
Barber, M., Rodriguez, N., & Artis, E. (2016). Deliverology in practice. Sage.
Copeland, V. C.& Wexler, S. (1995). Policy implementation in social welfare: A framework for analysis. Journal of Sociology & Social Welfare, 22(3), 51-68.
Health Service Executive. (2012). The health promotion strategic framework main report. http://hdl.handle.net/10147/228940
Rahmat, A. A. (2015). Policy Implementation: Process and Problems. International Journal of Social Science and Humanities Research, 3(3), 306-311.
Translated Thai References
Thai Health Promotion Foundation. (2011). Happy 8 in workplace Manual Happy Work Place. https://www.thaihealth.or.th/?p=232292 (in Thai)
Thai Health Promotion Foundation. (2015). ThaiHealth Master Plan 2015-2017. https://www.thaihealth.or.th/Books/แผนหลัก+สสส.+2558-2560.html (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Dhitiporn kraivixien

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะส่วนบุคคลของผู้เขียนซึ่งต้องรับผิดชอบต่อผลทาง กฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้และไม่มีผลต่อกองบรรณาธิการ