แผนภาพหน้าที่และมาตรฐานอาชีพผู้ช่วยสัตวแพทย์ (สัตว์เล็ก)

Main Article Content

เกศินี ไกรครุฑรี
วรัทยา ธรรมกิตติภพ
พนิต เข็มทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนภาพหน้าที่และมาตรฐานอาชีพผู้ช่วยสัตวแพทย์ (สัตว์เล็ก) ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา  แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การสร้างมาตรฐานอาชีพผู้ช่วยสัตวแพทย์ ใช้วิธีวิเคราะห์หน้าที่งาน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นายกสัตวแพทยสภา สัตวแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำโรงพยาบาล คลินิคทั้งภาครัฐและเอกชน  กลุ่มผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอนด้านสัตวแพทย์  ที่ยินดีเข้าร่วมการพัฒนามาตรฐานอาชีพ จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม ระยะที่ 2 คือ การตรวจสอบ (ร่าง) มาตรฐานอาชีพผู้ช่วยสัตวแพทย์ จากสัตวแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำโรงพยาบาลสัตว์คลินิคทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 102 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์


                ผลการวิจัยพบว่า  จุดมุ่งหมายหลักของอาชีพผู้ช่วยสัตวแพทย์ คือ ปฏิบัติงานและสนับสนุนการทำงานของสัตวแพทย์ได้อย่างมีมาตรฐาน บทบาทหลักของอาชีพ มี 3 บทบาทหลัก ได้แก่ 1) ช่วยเหลือเกี่ยวกับการปฏิบัติการของสัตวแพทย์และเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการด้านการรักษาในสถานประกอบการได้ถูกต้องตามข้อกำหนดประกอบด้วย 5 สมรรถนะหลัก และ 17 สมรรถนะย่อย  2) ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์และห้องต่าง ๆ ในสถานประกอบการได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดประกอบด้วย 3 สมรรถนะหลัก และ 9 สมรรถนะย่อย และ 3) ช่วยเหลืองานส่วนหน้าได้ถูกต้องตามข้อกำหนด ประกอบด้วย 4 สมรรถนะหลัก และ  12 สมรรถนะย่อย ผลการตรวจสอบมาตรฐานอาชีพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดเห็นด้วยกับข้อกำหนดทั้งหมดของมาตรฐานอาชีพนี้

Article Details

How to Cite
ไกรครุฑรี เ., ธรรมกิตติภพ ว., & เข็มทอง พ. (2019). แผนภาพหน้าที่และมาตรฐานอาชีพผู้ช่วยสัตวแพทย์ (สัตว์เล็ก). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(2), 103–114. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/192712
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรมปศุสัตว์. (2558). การขยายตัวของธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. จาก http://www/dld.go.th.
กิตติเชษฐ์ สวัสดิ์ธนากุล วรัทยา ธรรมกิตติภพ และสุนทรา โตบัว. (2558, กันยายน–ธันวาคม). การพัฒนามาตรฐานอาชีพงานเทคโนโลยี สำนักงาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 14(3): 259-266.
รัชต์ ขัตติยะ. (2542). การวิเคราะห์ความต้องการด้านการให้บริการของโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรัทยา ธรรมกิตติภพ. (2555). อาชีวศึกษา: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บีพีเอ็ม พริ้นท์ เซิร์ฟ.
วารุณี มิลินทปัญญา. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(28): 244-255.
สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). การสำรวจสุนัขที่มีเจ้าของในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อมร อัศววงสานน์. (2555). หลักสูตรฝึกอบรมผู้ช่วยสัตวแพทย์ในทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 1(2): 53-59.
Deissinger, T. and Hellwig, S. (2011). Structures and functions of Competency-based Education and Training (CBET): A comparative perspective. Germany, Deutsche Gesellschaft für International Zusammenarbeit (GIZ) GmbH.
Fletcher. (1991). NVQs, Standards and Competence. London, UK: Kogan Page.
Geoff and Boutall, T. (2011). Guide to Developing National Occupational Standards. UK Commission for Employment and Skills. Retrieved from https://www.gov.uk/government/uploads/ system/uploads/attachment_data/file/304239/nos-guide-for-developers-2011.pdf
Lester and Religa, J. (2016). ‘Competence’ and occupational standards: observations from six European countries. ComProCom: Communicating Professional Competence. Retrieved from http://devmts.org.uk/parn2017.pdf
Rösch et. al., L. (2013). Through competence-based to employment-oriented education and training: A guide for TVET practitioners. Germany: Deutsche Gesellschaft fur International Zusammenarbeit (GIZ) GmbH.

Translated Thai References
Aungsawawongsanon, A. (2012). Veterinary nursing training course in expert’s opinion. Journal of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 1(2): 53-59. (in Thai)
Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2015. The expansion of the pet business. Retrieved from http://www.dld.go.th (in Thai)
Khattiya, R. (1999). Needs Analysis in the services of the Small Animal Hospital in the Veterinary Faculty, Chiang Mai University. (Unpublished Master Thesis). Chiang Mai University, Chiang Mai. (in Thai)
Milinthapunya, Warunee. (2018). Factors Related to Retention of Employees at a University Hospital. Journal of Thonburi University. 12(28): 244-255. (in Thai)
Sawatthanasakul, K. Thammakittipob, V., and Tobua, S. (2015). Development of Occupation Standard for Office Technology. Journal of Industrial Education, 14(3): 259-266. (in Thai)
Statistical Forecasting National Statistical Office. (2010). A survey of dog owners in Bangkok. Bangkok, Thailand: National Statistical Office. (in Thai)
Thammakittipob, V. (2012). Vocational Education: Theory and Practice. Bangkok, Thailand: BPM Print Serve. (in Thai)