การส่งเสริมคุณธรรมสำหรับเยาวชน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและทีมเป็นฐาน

Main Article Content

ประกายทิพย์ พิชัย
ชษาพิมพ์ สัมมา
วาสนา ดวงใจ
ผกาทิพย์ สุระบุตร
ศลาฆนันท์ หงษ์สวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการส่งเสริมคุณธรรมสำหรับเยาวชน โดยการการเรียนรู้แบบร่วมมือและทีมเป็นฐาน และศึกษาผลการใช้กระบวนการ กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 150 คน แบบแผนการทดลองเป็นแบบ Pre-test and Posttest Design (One - Group) วัดก่อนและหลังการทดลอง  ในการศึกษาผลการใช้กระบวนการส่งเสริมคุณธรรมสำหรับเยาวชน โดยการการเรียนรู้แบบร่วมมือและทีมเป็นฐาน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนทดลอง โดยให้กลุ่มทดลองได้รับแบบประเมินความรู้ ความเข้าใจคุณธรรมสำหรับเยาวชน 2) ระยะทดลอง กลุ่มทดลองได้ใช้กระบวนการ มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การให้ความรู้ ความคิดของคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ที่ถูกต้อง และ 2) การฝึกความคิด วิเคราะห์ ความเข้าใจคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ โดยใช้วิธีฝึกการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการฝึกการเรียนรู้แบบใช้ทีมเป็นฐาน และ 3) ระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองได้รับแบบประเมินความรู้ ความเข้าใจคุณธรรมสำหรับเยาวชนเช่นเดียวกับก่อนการทดลอง วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้ ความเข้าใจคุณธรรม ใช้สถิติทดสอบที (t-test)  ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มทดลองมีความรู้ ความเข้าใจคุณธรรมสำหรับเยาวชน หลังการทดลอง  มีค่าเฉลี่ยมากกว่า ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิจัยได้ข้อสรุปว่า กระบวนการที่พัฒนาขึ้น  มีผลทำให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจคุณธรรมด้วยหลักคิดที่มีเหตุผลเพิ่มขึ้น 


คำสำคัญ: การส่งเสริมคุณธรรม,  คุณธรรมเชิงสัมพัทธ์, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, การเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน

Article Details

How to Cite
พิชัย ป., สัมมา ช., ดวงใจ ว., สุระบุตร ผ., & หงษ์สวัสดิ์ ศ. (2018). การส่งเสริมคุณธรรมสำหรับเยาวชน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและทีมเป็นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 117–126. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/148673
บท
บทความวิจัย

References

กมลพิพัฒน์ ชนิสิทธิ์; เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน; และ นลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). จริยธรรมในการตัดสินใจกับการพัฒนาองค์การ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(26): 162-172.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2539). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตวงรัตน์ วาห์สะ. (2012). พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, 5(2): 643-669.
ทัศนียา แสนทิพย์. (2559). การศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, นลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์การโดยใช้พรหมวิหาร 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(26): 162-171.
ศรุต นาควัชระ. (2553). การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชนที่จะเป็นผู้นำ. วารสารข้าราชการ. 55(5): 33-38.
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (2560-2564). สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2560, www.bps.sueksa.go.th.
สิรินารถ จงกลกลาง. (2551). รูปแบบการสอน Team Base Learning. วารสารวิชาการสีมาจารย์. 21(43): 86-91.
Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2013). An applied reference guide to research designs Quantitative, Qualitative, and Mixed Methods. Beverly Hills: Sage Publications.
Glovinsky, I. (2005). Moral Development, Self, and Identity. Journal of Developmental & Behavioral Pediatrics. 26: 160.
Johnson, B., & Christensen, L. (2004). Educational Research. Quantitative, Qualitative and Mixed Approach. 2nded. New York: Pearson Education.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1991). Learning together and alone: Cooperative, competitive, and individualistic learning. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. Journal of Education and Practice.
Kohlberg, L. (1964). Development of Moral Character and Moral Ideology. In M.L. Hoffman & L.W. Hoffman (Eds) Review of Child Development Research, Vol.1.Hartord, C.T.: Connecticut Printer.
Piaget, J. (1965). The Moral Judgment of the Child. New York: Free Press.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2008) Nursing research: Generating and assign evidence for nursing practice. 8thed. Philadelphia: Lippincott. 423.
Rissannen, I., Kuusisto, E., Hanhimaki, E. & Tirri, K. (2017). The Implications of Teachers’ Implicit Theories for Moral Education: A Case Study from Finland. Journal of Moral Education. 47: 63-77.

Translated Thai References
Bantumnavin, D. (1996). Ethical Tree Theory, Research and Personnel Development. 2thed. Bangkok: Chula Press. (in Thai)
Chalermpholyotin, L., Kittisaknavin, C.;& Deesawat, N. (2017). Leadership and Organization Development by using Principles of Four Brahmavihara. Journal of Thonburi University. 11(26): 162-171. (in Thai)
Chanisit, K.; Kittisaknavin, C.;& Deesawat, N. (2017). Ethical Decision Making and Organization Development. Journal of Thonburi University. 11(26): 142-155. (in Thai)
Jongkolklang, Sirinat. 2008). Teaching of Team Base Learning. Simajarn Journal. 21(43): 86-91. (in Thai)
Nakvatchara, Srute. (2008). Menagement for The Youths of Leader. Journal of Puplic Servant. 55(5): 33-38. (in Thai)
Office of Strategy and Planning Decision. Office of The Permanent Secretary Ministry of Education. (2016). Education Planning of Ministry of Education, No.12, Retrieved December, 25, 2017, from www.bps.sueksa.go.th. (in Thai)
Santhip, T. (2016). Students Self Discipline of Student Nikom Sang Yon Eng Chang Wat Rayong 4 School Rayong Primary Edcation Service area Office 1. (Master of Education Thesis, Education Administration, Burapha University. (in Thai)
Wasa, T. (2012). Honesty Behavior of Level III Students in Secondary Schools Under the Secondary Education Service area office 9, Nakhon Pathom District. Veridian E-Journal. 5(2): 643-669. (in Thai)