การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อการป้องกันการติดยาเสพติด

Main Article Content

สุวิทย์ สลามเต๊ะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเด็กและเยาวชน ของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อการป้องกันการติดยาเสพติด 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเด็กและเยาวชน ของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อการป้องกันการติดยาเสพติด และ 3) เพื่อการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเด็กและเยาวชน ของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อการป้องกันการติดยาเสพติด กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน โดยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้ 2) แบบวัดเจตคติ และ3) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Sample t-test


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยเนื้อหา 10 องค์ประกอบ จัดเป็น 4 มอดูล คือ มอดูลที่ 1 ความรู้ ความสามารถ มอดูลที่ 2 ทักษะจำเป็นของผู้นำ มอดูลที่ 3 การสร้างคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสาพัฒนาผู้นำ และมอดูลที่ 4 การนำไปใช้และการขยายผล 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า 2.1) หลังการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนมีความรู้ และเจตคติสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และ  2.2) ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก และ 3) มีการปรับปรุงหลักสูตร 2 เรื่อง 3.1) ขยายระยะเวลาเป็นจำนวน 3 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่มีเป็นจำนวนมาก และทำให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น และ 3.2)  เพิ่มจุดเน้นด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วม จากกิจกรรมภายในหลักสูตรฝึกอบรม


ทั้งนี้ประเทศไทยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562 ส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์คือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนมิให้เป็นผู้เสพรายใหม่ การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อการป้องกันการติดยาเสพติด จึงเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนให้เด็กและเยาวชนได้รับภูมิคุ้มกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมต่อไป 


คำสำคัญ: หลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร, ภาวะผู้นำเด็กและเยาวชน ยาเสพติดการป้องกัน, การติดยาเสพติด ศาลเยาวชนและครอบครัว

Article Details

How to Cite
สลามเต๊ะ ส. (2018). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อการป้องกันการติดยาเสพติด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 93–106. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/148656
บท
บทความวิจัย

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2558). จำนวนและรอยละของคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดําเนินคดีโดยสถานพินิจฯทั่วประเทศ ป พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน.
กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กรมฯ
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). การศึกษาวันนี้บทความออนไลน์ เรื่อง ยุควิกฤตเด็กและเยาวชนขาดภาวะผู้นำ. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2560, www. Kriengsak.com/node/49.
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). ผลการดำเนินงานคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ระหว่าง พศ.2551-2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2540). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนภัทร มีนา; วรัทยา ธรรมกิตติภพ; และ สุนทรา โตบัว. (2561). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(27): 24-36.
ไพศาล จันทรภักดี. (2548). การพัฒนาภาวะผู้นำเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้กระบวนการหลักสูตร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ลัดดาวัลย์ ศรีนิมิตรแก้ว. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ ภาวะผู้นำสำหรับคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. 6(2): 88-99.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2557). การวิจัยเชิงทดลองทางการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 6(11): 181-191.
ศรัณยา แสงหิรัญ. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เพื่อให้มีคุณลักษณะสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิทย์ สลามเต๊ะ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อการป้องกันการติดยาเสพติด. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
Benson, P.L. & Satio, R.N. (2001). The Scientific foundations of youth development. In P.L. Benson and K.J. Pittman (Eds.), Realities and Challenges : 135 – 154. Norwell, Massachusetts: Kluwer Academic.
Karen Strobel and Ingid Nelson. (2007). A Model for Fostering Youth Leadership : The Youth Engaged in Leadership and Learning Program (YELL). John. W. Gardner Center for youth and Their Communities.
Martnek, Tom;& Hellison, Don. (2009). Youth Leadership in Sport and Physical Education Springer International Publisher AG.
Walker, D.F. (2003). Curriculum as a shaping force : towards a principled approach in curriculum theory and practice. New York: NOVA Science.

Translated Thai References
Chareonwongsak Kriengsak. (2007). Education News: lack of leadership skills in children and youth. (in Thai). Retrieved December 30, 2017, from www. Kriengsak.com/node/49.
Department of Curriculum and Instruction Development. (2002). Research for the development of basic education curriculum. Bangkok: Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education. (in Thai)
Department of Juvenile Observation and Protection. (2015). Number and Percentage of Juvenile Cases Handled by All Juvenile Observation and Protection Centres in 2015. Bangkok: Department of Juvenile Observation and Protection. (in Thai)
Jhantharaphakdee, Phaisan. (2005). Development of Youth Leadership Development for Senior High School Student in High Schools Under The Office of the Basic Education Commission the Ministry of Education through Curriculum Development. (Doctor of Philosophy Thesis, Naresuan University). (in Thai).
Meena Thanapat, Thammakittipob Varataya, Tobua Suntara. (2018). An evaluation of the bachelor of education program in educational technology and communications curriculum (revised 2012), Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Journal of Thonburi University. 12(27): 24-36. (in Thai)
National Child and Youth Development Promotion Committee. (2011). National Child and Youth Development Promotion Performances. Bangkok : the Office of Promotion and Protection of Children, Youth, Disabilities, the Elderly, and Vulnerable Groups. (in Thai).
Phengsawad, Waro. (2014). The experimental research in education. Sakon Nakhon Rajaphat University Journal. 6(11): 181-191. (in Thai).
Salamteh, Suwit. (2017). The development of juvenile leadership training curriculum of the juvenile and family court for children and youth to prevent drug addiction. (Doctor of Philosophy Thesis, Saint John’s University). (in Thai)
Seanghirund, S. (2010). The development of teacher training curriculum of the vocational schools to have the characteristics of learning organization. (Doctor of Philosophy Thesis, Srinakharinwirot University). (in Thai)
Smithikrai, Chuchai. (1997). Personnel training in organizations. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Srinimitkeaw, Laddawan. (2012). Curriculum Training Development to Raise Leadership Character for Students’ Club Committee Faculty of Home Economics Technology. Rajamangala University of Technology Krungthep Research Journal. 6(2): 88-99. (in Thai)