การบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแบบครบวงจรในประเทศไทย

Main Article Content

เกียรติคุณ จินตวร
บุญมี กวินเสกสรร
ทิวลิป เครือมา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


             การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแบบครบวงจรในประทศไทย โดยใช้มหาวิทยาลัยธนบุรีเป็นต้นแบบ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแบบครบวงจรให้สามารถใช้กับสถาบันการศึกษาเอกชน 3) ศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนบริหารความเสี่ยง ประชากรการวิจัยคือผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยง ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และคณะกรรมการที่รับผิดชอบ จำนวน 1,200 คน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 3 แห่ง ในช่วงปีการศึกษา 2555 -2556 ใช้การสุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 500 คน จากประชากร 1,200 คน เครื่องมือการวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบสอบถาม สถิติใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม 2 ทาง และการวิเคราะห์ Benefit/Cost ratio


             ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความเสี่ยงแบบครบวงจรประเมินตามหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกหน่วยงาน มีความเสี่ยง ทั้งหมด 1,128 ความเสี่ยง เกิดรูปแบบรายงานที่ใช้กันทั่วไปมี 2 รูปแบบ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถใช้กับทุกสถาบันอุดมศึกษาควรมีการรายงานเพิ่มเติมอีก 5 รูปแบบ  3) ความคุ้มค่าในการลงทุนบริหารความเสี่ยง มี Benefit / Cost ratio = 1.25 จึงคุ้มค่าการลงทุน


คำสำคัญ :  รูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบครบวงจร, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, ระดับความเสี่ยง 


 

Article Details

How to Cite
จินตวร เ., กวินเสกสรร บ., & เครือมา ท. (2018). การบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแบบครบวงจรในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 56–61. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/148631
บท
บทความวิจัย

References

ภาวิช ทองโรจน์. (2550). การบริหารความเสี่ยง. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.
วโชค ไชยวงศ์. (2549). การบริหารความเสี่ยงเชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรารัตน์ เขียวไพรี. (2560). การประเมินความเสี่ยงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับวิสาหกิจชุมชนในกรุงเทพ มหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11(25): 43-55.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เรื่องการวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมิตพริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2556ก). ผลการประเมินคุณภาพสอบภายใน ของมหาวิทยาลัยธนบุรี ปีการศึกษา 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2556ข). ผลการประเมินคุณภาพสอบภายใน ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2557). ผลการประเมินตรวจสอบภายในของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
The Committee of Sponsoring Organization of commission (COSO). (2004). Enterprise Risk Management-Integrated Framework.

Translated Thai References
Chaiywong, Wachoock. (2006). Integrated Management of Risk. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Kaewpiree , Warrat. (2017). Risk Assessment in Sufficiency Economy Philosophy for Enterprises Community in Bangkok Journal of Thonburi University. 11(25): 43-55. (in Thai)
Office of the Higher Education Commission (2013b). The results of internal quality assessment of the Private Higher Education Institutions Academic Year (2012). Bangkok: Office of the Higher Education Commission. (in Thai)
Office of the Higher Education Commission. (2013a). The results of internal quality assessment Of the University Thonburi Academic Year (2012). Bangkok: Office of the Higher Education Commission. (in Thai)
Office of the Higher Education Commission. (2014). The results of internal quality assessment of the Private Higher Education Institutions Academic Year (2013). Bangkok: Office of the Higher Education Commission. (In Thai)
Office of the Public Sector Development Commission (2009). Technical Manual and Modern Management Approach. Good governance practices. Risk Analysis and Management 2nded. Bangkok: Somit Printing. (in Thai)
Tongroj, Paivit. (2007). Risk Management. Nakorn Phanom: Nakorn Phanom University. (in Thai)