การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานความมั่นคงของไทยเพื่อป้องกันภัยคุกคามด้านการก่อการร้ายสากล

Main Article Content

ศาสนีย์ ศรศิลป์

Abstract

บทคัดย่อ


 ปัจจุบันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (Non-Traditional Threat) เป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและยากที่รัฐใด รัฐหนึ่งจะรับมือได้เพียงลำพัง การก่อการร้ายสากลเป็นหนึ่งในภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ไทยต้องเผชิญหน้าและหาทางรับมือ บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นโดยผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการสำรวจแนวทางในการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานความมั่นคงของไทย ซึ่งมีภารกิจหลักในการรักษาความสงบและมั่นคงให้กับประเทศชาติ โดยผู้เขียนนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์มาใช้ในการพิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานความมั่นคงของไทยภายใต้บริบทการบริหารปกครอง ซึ่งพบว่าปัจจุบันหน่วยงานความมั่นคงของไทยมีมากมายหลายหน่วยงาน ต่างทำงานโดยมีภารกิจที่แตกต่างกันและสังกัดภายใต้กระทรวงที่แตกต่างกัน และหากพิจารณารูปแบบความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ตามแนวคิดของโรดส์ (Rhode) แล้วจะพบว่าเป็นไปในลักษณะเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ (Intergovernmental Network) ที่มีการพึ่งพิงกันเป็นครั้งคราวปราศจากโครงสร้างที่เป็นทางการและการร่วมมือกันอย่างถาวร ทั้งนี้บทความนี้ได้สำรวจความเป็นไปได้ในการบูรณาการขั้นสูงสุด อย่างเช่นการจัดตั้งกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงเสนอแนวทางการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานความมั่นคงในรูปแบบอื่นๆ ไว้ด้วย


 คําสําคัญ: การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ, การบริหารปกครอง, การต่อต้านการก่อการร้ายสากล


 Abstract


             Nowadays, non-traditional threat is a major concern for all states, its intensive and complexity causes difficulty for a state to deal with. International terrorism is one of a non-traditional threat that Thai has to prepare to respond the issue. This article has objective to explore the Intergovernmental relation among Thai’s security agencies for counter-terrorism which their main responsibility is maintaining state’s peace and secure. Thailand has many security agencies which responsible for various missions and aims and being in the different chain of command. Due to Rhodes, the relation among Thai’s security agencies is called “Intergovernmental Network” which has no official structure, they may sometimes cooperate on the certain issues. This article will survey the possibility for establishment of department of homeland security which is the highest integration level and the last part of the article will suggest the alternative idea to manage the intergovernmental relations among security agencies.


 Keyword: Intergovernmental Relations, Governance, Counter-terrorism

Article Details

How to Cite
ศรศิลป์ ศ. (2018). การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานความมั่นคงของไทยเพื่อป้องกันภัยคุกคามด้านการก่อการร้ายสากล. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(27), 166–174. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/110428
Section
บทความวิชาการ