ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคในตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคในตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคในตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร และ 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้ออาหารทะเลในตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ของผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริโภคที่เลือกซื้ออาหารทะเลในตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน (t-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way analysis of variance) ผลการวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคในตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารทะเลไม่เกิน 1 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 47.25 ส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารทะเลในวันเสาร์-อาทิตย์ ร้อยละ 52.75 ช่วงเวลา 08.01-10.00 น. ร้อยละ 41.50 โดยเดินทางมากับครอบครัว ร้อยละ 51.25 และมีวัตถุประสงค์ในการเลือกซื้ออาหารทะเลเพื่อรับประทานเอง ร้อยละ 69.50 ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อครั้งในการเลือกซื้ออาหารทะเลต่ำกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 52.50 ประเภทอาหารทะเลที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อคือ ปลาหมึก ร้อยละ 71 และสาเหตุสำคัญที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารทะเลที่ตลาดมหาชัยคือคุณภาพสินค้า/ความสด ร้อยละ 49 2. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคในตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.43) โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ ด้านสินค้าและบริการ ( = 4.02) รองลงมาคือ ด้านราคา ( = 3.75) ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ( = 3.37) และด้านการสื่อสารทางการตลาดและการส่งเสริมการตลาด ( = 2.45) ตามลำดับ3. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้ออาหารทะเลในตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ของผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกัน พบว่าผู้บริโภคที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้ออาหารทะเลในตลาดมหาชัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริโภคที่มีเพศต่างกัน มีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้ออาหารทะเลในตลาดมหาชัยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ : พฤติกรรม, ส่วนประสมทางการตลาด, อาหารทะเล
Abstract
This research is aimed to study (1) the behavior in buying seafood of consumers at Mahachai market, Samut Sakhon Province (2) the marketing mix factors in buying seafood of consumers at Mahachai market, Samut Sakhon Province and (3) to compare the marketing mix factors in buying seafood of consumers in differential demography at Mahachai market, Samut Sakhon Province. The population is the consumers buying seafood at Mahachai market, Samut Sakhon Province, comprised of 400 samples operated through accidental sampling. Those simples were administered by questionnaires, and then analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test independent and one-way analysis of variance. The results were as follows: 1. The behavior of consumers buying seafood in Mahachai market, Samut Sakhon Province found that 47.25% bought not over once a month, 52.75% bought on Saturday or Sunday and the buying period was 08.01-10.00am. (41.50%), 51.25% came along with families to buy, 69.50% bought for their own consuming. The average costing was less than 1,000 Baht (52.50%). Type of seafood buying was squid (71%). 49% said that the quality and freshness were the main reasons to buy seafood at Mahachai market, Samut Sakhon. 2. Regarding to the marketing mix factors in buying seafood of consumers at Mahachai market, Samut Sakhon Province was moderate (=3.43). The highest important factor was product and service (=4.02). It is followed by price (=3.75), place of selling (=3.37) and marketing communication and promotion (=2.45). 3. The result of comparison of the marketing mix factors in buying seafood of consumers in differential demography at Mahachai market, Samut Sakhon Province found that age, marital status, educational level, occupation and income were related to the marketing mix factors in buying seafood at the statistics significance level of .05. However, the gender was related, there was no statistically significant.
Keywords : consumer behaviors, marketing mix, seafood