การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะดิจิทัล เพื่อการจัดการเรียนการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ วิธีดำเนินการของผู้วิจัย คือศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2,027 คน จาก 212 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของสมรรถนะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ได้แก่ ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน (PNI modified = 0.75)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
กรณัฏฐ์ ฐิตากรพงศ์สถิต และคณะ. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วารสารรัชต์ภาคย์. 16(47), 189-205.
กิตติพศ โกนสันเทียะ. (2565). สมรรถนะดิจิทัล: สมรรถนะใหม่สำหรับครูยุคปัจจุบัน.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 22(2), 14–23.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: โรงพิมพ์อักษรศิลป์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). กระทรวงศึกษาธิการ. (2566).
แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2566 – 2570. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566, จาก https://itdept.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/MOE-DIGITAL-66-70.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566, จาก https://otepc.go.th/
images/00_YEAR2564/03_PV1/1Mv9-2564.pdf.
วันเพ็ง ระวิพันธ์. (2562). แนวทางการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 6(1), 116-129.
ภาษาอังกฤษ
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education. (2023). Digital Action Plan for Education, Ministry of Education. 2023-2027. Retrieved on October 31, 2023, from https://itdept.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/MOE-DIGITAL-66-70.pdf.
Konsantia K. (2022). Digital competence: A new competence for modern teachers. Journal of Education Thaksin University. 22(2), 14–23.
Office of the Teacher Civil Service and Educational Personnel Commission (OTEP), Ministry of Education. (2021). Handbook for implementing criteria and procedures for assessing the position and academic standing of teachers and educational personnel. Retrieved on October 20 2023, fromhttps://otepc.go.th/images/00_YEAR2564/03_PV1/1Mv9-2564.pdf.
Rawipan W. (2019). Guidelines for using innovations and information technology inteaching management according to the Thailand 4.0 policy of Phra Nakhonsiayutthaya Primary Educational Service Area Office 2. Journal of Educational Review. 6(1), 116-129.
Røkenes, F. M and Krumsvik, R. J. (2016). Prepared to teach ESL with ICT ? A study of digital competence in Norwegian teacher education. Computers & Education. 97(1), 1-20.
Srisat B. (2013). Preliminary research. 9th ed. Bangkok: Suwiriyasan.Thitakornphongsathit K. and team. (2022). The needs assessment and guidelines for developing teachers' digital skills to enhance 21st-century teaching and learning under the Mukdahan Secondary Educational Service Area Office. Ratchapak Journal. 16(47), 189-205.
Viberg, O., Mavroudi, A., Khlil, M. and Balter, O. (2020). Validating an instrument to measure teacher' preparedness to use digital technology in their teaching. Nordic Journal of digital literacy. 15(1), 39-55.
Worakitkasemsakul S. (2011). Research methodology in behavioral and social sciences. Udon Thani: Aksornsri Printing.
Wongwanich S. (2007). Needs assessment research. Bangkok: Chulalongkorn University.