รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวและสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารในครอบครัวและสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ จำนวน 400 ชุด โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบผสมผสาน โดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) ในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบประนีประนอมมากที่สุด มีระดับความคิดเห็นต่อสุขภาวะในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครที่มีเพศต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อสุขภาวะต่างกัน และไม่พบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นต่อระดับสุขภาวะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926.
ชุติมา สินชัยวนิชกุล และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก. 19(ฉบับพิเศษ), 100-109.
นภาภรณ์ หะวานนท์ และธีรวัลย์ วรรธโนทัย. (2552). ทิศทางใหม่ในการพัฒนาการอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
ประนอม โอทกานนท์. (2554). ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย หลักการ งานวิจัยและบทเรียนจากประสบการณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
ฝน แสงสิงแก้ว. (2543). ความผูกพันรักใคร่ในครอบครัว. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 45(1), 1-10.
ศุภลักษณ์ จงเจริญจิตเกษม. (2546). รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวและสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2566). เอกลักษณ์ไทย. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.businesseventsthailand.com/th/why-thailand/uniquely-thai.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). จำนวนประชากรผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จากhttps://catalog.nso.go.th/dataset/60.
Benya Lertsuwan, & Claudia Hale. (2018). Family communication patterns and conflict management styles young adults use with their parent in Chiang Mai Thailand. Veridian E-Journal Silpakorn. 11(5), 582-599.
Sinchaiwanichakul C. & Kespichayawattana J.. (2018). Factors Related to Healthy Aging Among The Older Persons in Community-Dwelling of Bangkok Metropolitan. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 19(Supplement), 100-109.
Department of Older Persons. (2019). Ageing Society in Nowadays and Economy in Thailand. Retrieved 3 July2019, from https://www.dop.go.th/th/know/15/926.
Saengsingkaew F.. (2000). Family Tie. Journal of the Psychiatrist Association of Thailand. 45(1), 1-10.
Koerner, A. F., & Fitzpatrick, M. A. (2002). Understanding Family Communication Patterns and Family Functioning: The Roles of Conversation Orientation and Conformity Orientation. Annals of the International Communication Association. 26, 36-65.
Hawanon N. & Wattanotai T.. (2007). New Way in Development Residence of the Elderly in Thai Society. Faculty of Architecture. Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
National Statistical Office. (2019). Number of the Elderly. Retrieved 1 May 2021, from https://catalog.nso.go.th/dataset/60.
Otakanont P.. (2011). Healthy Life of Thai Elderly Principle Research and Lesson from
Experience. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Rattanapun S. et al.. (2009). Characteristics healthy ageing among the elderly in Southern
Thailand. Chiang Mai University Journal of Natural Science. 8(2), 143-160.
Jongjaroenjitkasem S.. (2003). Family Communication Patterns and Mental Health of Students in Saint John’s University. Master of Science. Ramkhamhaeng University.
Thailand Convention and Exhibition Bureau. (2023). Uniquely Thai. Retrieved 10 November 2023, from https://www.businesseventsthailand.com/th/why-thailand/uniquely-thai.