การวิเคราะห์การเผยแผ่ธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ตามหลักประจักษ์นิยมในทางญาณวิทยา

Main Article Content

พระวันดี เขมจิตฺโต (เค้าดี)
พระราชปริยัติวิมล
พระใบฎีกานรินทร์ สีลเตโช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่ธรรมะในสมัยพุทธกาลและปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาชีวิตและผลงานการเผยแผ่ธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกฺขุ) และ 3) เพื่อวิเคราะห์การเผยแผ่ธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกฺขุ) ตามหลักประจักษ์นิยมนิยมในทางญาณวิทยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 
1) การเผยแผ่พุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลใช้วิธี “มุขปาฐะ” เป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นไปที่การเผยแผ่นั้นให้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล (หิตาย) เพื่อความสุข (สุขาย) และเพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก (โลกานุกัมปาย) ทั้งนี้เพราะชาวโลกหรือมนุษย์จำนวนมากยังเป็นผู้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
2) ศึกษาชีวิตและผลงานการเผยแผ่ธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกฺขุ) พระพรหมมังคลาจารย์หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นผู้บุกเบิกแหล่งศึกษาธรรมชื่อสวนโมกข์ ให้เป็นสถานที่ศึกษาธรรมจากคัมภีร์หลักคือพระไตรปิฎก ศึกษาธรรมะจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัว ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย โดยเฉพาะท่านมีความโดดเด่นด้านปาฐกถาธรรมและเทศนาธรรมในที่สาธารณะอย่างองอาจ และท่านยังมีผลงานเชิงประจักษ์ 
3) หากนำประจักษ์นิยมไปวิเคราะห์การเผยแผ่ธรรมะของหลวงพ่อปัญญานันทภิกษุ  จะเห็นว่า หลักการ วิธีการและแนวทางการเผยแผ่ธรรมะของท่านล้วนเกิดจากประสบการณ์ที่ท่านเดินทางไปจำพรรษาในภูมิภาคต่างๆ มีจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ท่านเปลี่ยนการนั่งบนธรรมาสน์มาเป็นยืนบรรยายธรรมะบนโพเดี้ยมต่อหน้าชาวพุทธ วิธีการเผยแผ่ธรรมะดังกล่าวจะตรงกับประจักษ์นิยม ที่เชื่อว่าประสบการณ์เป็นที่มาของความรู้ที่แท้จริงและถูกต้อง ตลอดชีวิตแห่งสมณเพศของท่าน

Article Details

How to Cite
เค้าดี พ., - พ., & สีลเตโช พ. (2023). การวิเคราะห์การเผยแผ่ธรรมะของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ตามหลักประจักษ์นิยมในทางญาณวิทยา. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 8(2), 84–93. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/264344
บท
บทความวิจัย

References

ชลธิชา บำรุงรักษ์. (2539). การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความประเภทต่างๆ ในภาษาไทย. กรุงเทพ มหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกฉบับพร้อมอรรกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ธรรมสภา.

ประพันธ์ เนตรนพรัตน์. (2523). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายประพันธ์ เนตรนพรัตน์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามเจริญพานิช.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2537). วจนะวิเคราะห์ : การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bamrungrak C.. (1996). Language analysis at the level of various types of texts in the Thai language. Bangkok: Thammasat University.

Buruspat S.. (1994). Speech analysis: language analysis at the text level. Bangkok: Mahidol University.

Dhamma Pitaka (P.A. Payutto). (2000). Buddhist methods of teaching. Bangkok : Thammasapa Printing House.

Mahamakut Rajavidyalaya University. (1982). Tripitaka edition with commentary. Bangkok: Mahamakut Rajavidyalaya Printing House.

Netnopparat P.. (1980). Memorial for the Royal Cremation Ceremony of Mr. Praphan Netnopparat. Bangkok: Sam Charoen Panich Printing House.