วิเคราะห์การทำบุญข้าวสากตามหลักคุณธรรมในทางพุทธจริยศาสตร์ ของชาวตำบลหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบุญวิธีในพระพุทธศาสนาและหลักพุทธจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาการทำบุญข้าวสากของชาวตำบลหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อวิเคราะห์การทำบุญข้าวสากตามหลักคุณธรรมในทางพุทธจริยศาสตร์ ของชาวตำบลหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน โดยใช้เครื่องมือคือการสัมภาษณ์ และการสังเกต นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
การทำบุญในพระพุทธศาสนาคือการทำความดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความดีหรือ กรรมดีให้แก่บุคคลผู้ทำบุญ และเพื่อกำจัดความเห็นแก่ตัวออกไปจากใจ การทำบุญเป็นเหตุนำความสุขมาให้ ทำให้จิตใจให้เบ่งบานไปด้วยบุญ ทำให้จิตใจผ่องใสบริสุทธิ์ ชีวิตมีแต่ความสงบสุข พบเจอแต่สิ่งดีงาม การทำบุญในพระพุทธศาสนามีหลายวิธี เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา เป็นต้น
ชาวตำบลหนองใหญ่ได้มีการทำบุญที่เรียกว่า บุญข้าวสาก เป็นประเพณีการทำบุญที่อุทิศหรือเจาะจงถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว และอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต นิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นประจำทุกปี การทำบุญตามประเพณีดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกับหลักการทำบุญในพระพุทธศาสนาในข้อว่าด้วยการให้ แต่การให้ในที่นี้เป็นการให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
ตามหลักพุทธจริยศาสตร์เห็นว่าการทำบุญดังกล่าวมีนัยตรงกับหลักคุณธรรมเรื่องความกตัญญูกตเวที คือเป็นผู้รู้อุปการะที่บุคคลทำแล้วและทำตอบแทนหรือสนองคุณท่าน ว่าโดยขอบเขตแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ 1) ต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว และ 2) ต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญประโยชน์หรือมีคุณความดีที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ส่วนรวม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
กรมศิลปากร. (2559). ฮีตที่ 10 บุญข้าวสากหรือบุญข้าวสาก. สืบค้นเมื่อ, 7 กรกฎาคม 2565, จาก www.nectec.or.th/schoolnetibrary/webcontestwoom/cooteam/dnesobo/heeto/heet@o.hm.
ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2545). คติชนวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ขันเตียน นามเกตุ. (2556). การศึกษาคติความเชื่อประเพณีบุญเดือนเก้า (ข้าวประดับดิน). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวํโส (คำเชื้อ). (2554). การศึกษาวิเคราะห์ปุพพเปตพลีที่ปรากฎในคัมภีร์ใบลานล้านนา กรณีศึกษาคัมภีร์เปตตพลีฉบับวัดหลวงราชสัณฐาน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุพจน์ คำน้อย. (2553). ศึกษาเกี่ยวกับคำสอนเรื่องการอุทิศส่วนบุญในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แม่ชีดวงพร คําหอมกุล. (2554). การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในธัมมปทัฏฐกถา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย เล่มที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 52). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
Fine Arts Department. (2016). Heat number 10: Bun Khao Sak or Bun Khao Sak. Retrieved on, 7 July 2022, from www.nectec.or.th/ schoolnetibrary/ /cooteam/dnesobo/heeto/heet@o.hm.
Jitchinakul K.. (2002). Folklore. Bangkok: Odean Store.
Mahachulalongkornrajavidyalaya. (1996). Thai Tripitaka Mahachulalongkorn rajavidyalaya Edition. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya.
Mae Chi Duangporn Khamhomkul. (2011). Analytical study of Buddhist ethics in Dhammapathathakatha. Master of Buddhist Studies Thesis. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Namket K.. (2013). A study of the beliefs and traditions of the merit-making tradition of the ninth lunar month (Rice decorated with soil). Master of Buddhist Studies Thesis. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phrakru Baidika Chaloemphon Ariyawamso (Khamchuea). (2011). An analytical study of Puppet Phli appearing in the Lanna leaf scriptures. A case study of the Petta Phli scriptures, Wat Luang Ratchasanthan edition. Master of Buddhist Studies Thesis. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Maha Suphot Khamnoi. (2010). Study on the teachings on dedicating merit in Theravada Buddhism. Master of Buddhist Thesis. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Brahmakunaphon (P.A. Payutto). (2004). Dictionary of Buddhism Glossary edition. Bangkok: Dhamma Pitaka Education for Peace Foundation.
Somdet Phra Buddhakosajarn (P.A. Payutto). (2019). Buddhadhamma expanded edition volume 2. (52nd). Bangkok: Phlitham Publishing House.