การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชน ในอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม มีจำนวน 19,728 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Taro Yamane จึงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนจำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พระสังฆาธิการ บุคคลกรและประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที-เทส และ เอฟ-เทส วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการศึกษาพบว่า
1) ระดับพฤติกรรมของการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกันการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
บุญรักษ์ ตันตยานุสรณ์. (2549). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของผู้ค้าไม้และไม้แกะสลักในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดำเคียง ลักษณโยธิน. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลำปาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จิระพันธ์ วิสูตรศักดิ์. (2547). การดำเนินบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โกวิท พวงงาม. (2546). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วินยูชอน.
สำนักงานทะเบียน อำเภอชุมชล จังหวัดมหาสารคาม. (2564). ข้อมูลทั่วไป. มหาสารคาม: สำนักงานทะเบียน อำเภอชุมชล จังหวัดมหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา.
โภคิน ขวัญลา. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ปิยะรัตน์ ตันตรานนท์. (2548). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเม็งราย เทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรสวัสดิ์ นวพล. (2560). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ.
สุวิทย์ รุ่งวิสัย. (2541). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. รายงานการวิจัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้ทนราษฎร.
วสันต์ สุวรรณ. (2547). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษาตำบลหนองจอม. อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาษาอังกฤษ
Kwanla P. (2020). Political participation of people in Bueng Kan Province. Doctor of Political Science Thesis Pathum Thani University.