การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

Main Article Content

พระมหาชนาธิป ชยเมธี (เรืองชัย)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครขอนแก่น 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนทั่วไปที่มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่นจำนวน 91,650 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Taro Yamane จึงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนจำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พระสังฆาธิการ บุคคลกรและประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และ F-test วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการศึกษาพบว่า
1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับ โดยเรียงค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด พบว่าด้านการบริหาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅ = 3.56) รองลงมา คือ ด้านการติดตามข่าวสาร (x ̅ = 3.55) ด้านข้อบัญญัติท้องถิ่น (x ̅ = 3.52) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการตรวจสอบ (x ̅ = 3.50) ตามลำดับ
2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

How to Cite
ชยเมธี (เรืองชัย) พ. (2022). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 7(2), 12–21. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/259049
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กองราชการส่วนตำบล. (2550). ข้อมูลสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี 2550. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

จิรวรรณ อินทรีย์สังวรณ์. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาสามปี: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองท้องถิ่น กรณีศึกษา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

ประยงค์ พรมมา. (256). การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาทัศพงษ์ กลิ่นศรีสุข. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาประเสริฐศักดิ์ กลิ่นศรีสุข. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพุทธมรรค ธรรมศึกษา ศูนย์วิจัย โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. 5(2), 35-50.

มานพ เข็มเมือง. (2556). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภับุรีรัมย์, 5(1), 107-124.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ภาษาอังกฤษ

Butsara Phothisuk. (2015). People’s Participation in Local Politics: A Case Study Chang Phueak Subdistrict, Mueang District, Chiang Mai Province. Research Report Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chiang Mai Campus.

Jirawan Organic Sangwan. (2009). Public Participation in the Preparation of the Three-Year Development Plan: A Case Study of Pong Phrae Subdistrict Administrative Organization, Mae Lao District, Chiang Rai Province. Master of Public Administration, Graduate School, Chiang Rai Rajabhat University.

Kowit Phuangngam. (2005). Thai Local Government Principles and New Dimensions in the Future. Bangkok: Wiyuchon.

Manop Khemmuang. (2013). participation in local political elections of people in Nong Waeng Subdistrict Municipality Lahan Sai District Buriram Province. Academic Journal of Buriram Rajabhat University. 5(1), 35-50.

PhramahaPrasertsak Punyapattano. (2020). Political Participation of People in Surat Thani Municipality. Buddhamak Journal Dharma Studies Research Center Wat Awut Wiksitaram School. 5(2), 107-124.

PhramahaThatsaphong Klinsrisuk. (2020). people’s political participation in local government in Thep Sathit District Chaiyaphum Province. Master of Political Science Thesis,

Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Prayong Phomma. (2013). Administration in accordance with the moral principles of Khon Kaen Provincial Administrative Organization. Master of Buddhist Thesis, Graduate School Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Secretariat of the House of Representatives. (2011). People’s Political Participation. Bangkok: Publishing Office of the Secretariat of the House of Representatives.

Subdistrict Government Division. (2007). Subdistrict Council and Subdistrict Administrative Organization information for the year 2007. Bangkok: Local Printing House.

Suphasawad Chatchawan. (2002). Local Government and Public Participation. Bangkok: Torch Publishing Project.

Udom Tumkosit. (2011). Modern Local Governance: Lessons from Developed Countries.

Bangkok: Sat Four Printing.