การรับรู้และความคาดหวังในบริการของศูนย์ดำรงธรรม

Main Article Content

ปทุมรัตน์ มีธรรม
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรม และความจำเป็นในการมีอยู่ของศูนย์ดำรงธรรมจากมุมมองของประชาชน รวมถึงเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐในด้านการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการศึกษาเอกสารกับการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประชาชนกลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้บริการศูนย์ดำรงธรรมอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 จำนวน 35 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคาดหวังเป็นอย่างมากกับการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรม ในด้านการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ การให้ความเป็นธรรม การได้รับความสะดวก และการไม่เสียค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการ รวมถึงประสิทธิผลในการประสานงานกับหน่วยงานอื่น 2) ประชาชนเห็นว่าการมีอยู่ของศูนย์ดำรงธรรมยังมีความจำเป็น เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ตอบสนองความต้องการและช่วยแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐในด้านการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ โดยต้องปรับปรุงหรือพัฒนาในด้านการประชาสัมพันธ์ การให้คำแนะนำในการใช้บริการหรือขั้นตอนการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน การเพิ่มความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา และมีการติดตามผลและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
มีธรรม ป., & คำนวณศิลป์ พ. (2022). การรับรู้และความคาดหวังในบริการของศูนย์ดำรงธรรม . บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 7(1), 115–123. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/254923
บท
บทความวิจัย

References

กนกขวัญ สังเพ็ง และ ณัฐวีณ์ บุคนาค. (14 กันยายน 2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลพบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก http://mapol.soc.ku.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/14.pdf

กัญญณัท สุนทรวิภาค. (16 พฤศจิกายน 2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563, จาก http://gspa.nida.ac.th/th/pdf/is/2563/is-pitsanulok_2562.pdf

ฉัตรชัย ฉายส่องแสง และ รัฐศิรินทร์ วังกานนท์. (29 สิงหาคม 2562). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรมอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.pol.ru.ac.th/graduate/index.php/info-new/s-local/search-result?show_category=0&start=600

เมธาพร มีล้น. (2559). ความคาดหวังของประชาชนและความเป็นจริงในการแสดงบทบาทของนักพัฒนา ชุมชนตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศุภกิต เสนนอก. (11 สิงหาคม 2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการรับเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5703011352_3731_3533.pdf

ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย. (2558). คู่มือการดำเนินการแก้ไขปัญหาการร้องทุกข์/ร้องเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสตูล. (เมษายน 2562). สรุปแบบประเมินความพึงพอใจและความต้องการ / ความคาดหวังในการให้บริการประชาชน ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสตูล (มกราคม 2562 – มีนาคม 2562). สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.satun.go.th/news/detail/131/data.html

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2558). รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมมิติใหม่ ตามทัศนะของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและศูนย์ดำรงธรรม อำเภอ และประชาชนผู้ใช้บริการ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.stabundamrong.go.th/web/research1/research4.pdf

อภิญญา ไล่ไธสง. (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพการรับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อมรารัตน์ บุญภา. (มิถุนายน 2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลอัมพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/55930248.pdf