พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 และ 3) ข้อเสนอแนะต่อพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จำนวน 111,480 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการจากสูตรทาโรยามาเน่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.913 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย อยู่ในระดับปานกลาง โดยรวมและรายด้าน เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนในการร่วมตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมในความคิด ตามลำดับ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพแตกต่างกันมีพฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงประชามติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้งควรดำเนินการจัดการลงมติร่างรัฐธรรมนูญด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คิดเป็นร้อยละ 10.75 รองลงมาคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งควรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของการลงประชามติ คิดเป็นร้อยละ 8.75
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตร.
ชัยวัฒน์ รัฐขจร. (2552). ความเข้าใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชุติ ระบอบ และคณะ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ไชยพร ตัณฑ์จิตานนท์. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล กรณีศึกษาเทศบาลเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2555). พัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกัน การทุจริต. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัฐดิฐ อิสระเสนีย์. (2549). พฤติกรรมการเลือกตั้งและความพึงพอใจของประชาชน ในการปฏิบัติงานของนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
วิรัช เพียรชอบ. (2552). พฤติกรรมการใช้สิทธิทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
เอกชาติ แจ่มอ้น. (2557). พฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ศึกษากรณี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.