การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระอภิสิทธิ์ อภิสิทฺธิโก (อ่อนคำ)

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพิธีกรรมการอยู่ปริวาสในพระไตรปิฎก 2)ศึกษาพิธีกรรมการอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ 3) วิเคราะห์คุณค่าของการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ


ผลการศึกษาพบว่า


          พิธีกรรมการอยู่ปริวาสกรรมในพระไตรปิฎก คำว่า ปริวาส นี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล เป็นชื่อของสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่สงฆ์จะพึงกระทำเพื่อการอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่า “การอยู่กรรม” เรียกรวมกันว่า “ปริวาสกรรม” เป็นระเบียบปฏิบัติสำหรับภิกษุที่ต้องอาบัติ "สังฆาทิเสส" แล้วปกปิดไว้ ทั้งที่เกิดโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ และอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม จึงต้องประพฤติเพื่อเป็นการลงโทษตัวเองให้ครบเท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดอาบัติไว้ ปริวาสกรรม ในพระพุทธศาสนา ใช้กระทำสำหรับคน 2 จำพวก จำพวกที่ 1 ได้แก่พระภิกษุที่ต้องสังฆาทิเสส เพื่อการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งเป็นอาบัติหนักดังกล่าว จำพวกที่ 2 ได้แก่ คฤหัสถ์ที่เคยบวชหรือนับถือศาสนาอื่นมาก่อน


          พิธีกรรมการอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ การอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษที่ผู้วิจัยได้ศึกษามี 4 แห่งคือ 1) วัดไตรราษฎร์สามัคคี ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 2) วัดอุทยานธรรมดงยาง ตำบลคลีกลิ้ง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ 3) วัดสำโรงพลัน ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีษะเกษ 4) วัดป่าบ้านพะเยียว ตำบลใจดี อำเภอ    ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากการที่ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยการเข้าร่วมอยู่ปริวาสกรรม สัมภาษณ์เจ้าสำนักที่จัดปริวาสกรรม อาจารย์กรรมและพระสงฆ์ที่เข้าปริวาสกรรมตลอดถึงอุบาสกอุบาสิกาที่เข้าร่วมปฏิบัติธรรม สรุปได้ว่าการจัดปริวาสกรรมของวัดทั้ง 4 แห่งนั้นเป็นการจัดมาอย่างต่อเนื่องมีจุดประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ได้ชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์ เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเปิดโอกาสให้ชาวพุทธได้ร่วมทำบุญกับพระสงฆ์ด้วยการให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา


          วิเคราะห์คุณค่าของการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ จาการวิเคราะห์คุณค่าของการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษพบว่าปริวาสกรรมมีคุณค่าในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านวัฒนธรรม การอยู่ปริวาสกรรม นับว่าเป็นหนึ่งในประเพณีสิบสองเดือน ของชาวอีสานที่ชาวบ้านให้ความสำคัญเสมอมา เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ด้านสังคม ประเพณีการอยู่ปริวาสกรรม ทำให้ประชาชนได้สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้านการศึกษา ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการอยู่ปริวาสกรรม คนรุ่นใหม่สืบทอดประเพณีต่อไป ด้านเศรษฐกิจ พ่อค้าแม่ขายมามาก ก็จะทำให้เศรษฐกิจในหมู่บ้านที่จัดปริวาสดีขึ้น การค้าขายในชุมชนมีปริมาณมากเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน หมู่บ้าน ในการจัดงานมีการใช้จ่าย ได้จากศรัทธาญาติโยมที่มาทำบุญ

Article Details

How to Cite
อ่อนคำ พ. . . (2020). การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ. บัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 3(1), 57–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/saketreview/article/view/248011
บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.