การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีผลต่อการจัดการลีน ของธุรกิจร้านอะไหล่ยนต์ ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
Automotive spare part business, lean management, COVID-19 pandemicบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติของการจัดการลีนของธุรกิจร้านอะไหล่ยนต์ ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ (2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีผลต่อการจัดการลีนของธุรกิจร้านอะไหล่ยนต์ ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (3) เพื่อศึกษาปัจจัยทัศนคติของลูกค้าที่มีผลต่อการจัดการลีนของธุรกิจร้านอะไหล่ยนต์ ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยอาศัยแบบสอบถามที่ได้มีการเก็บรวบรวมจากลูกค้า ธุรกิจอะไหล่ยนต์ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธี F-test การวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 21 – 30 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญา มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ 10,001 – 20,000 บาท นอกจากนั้นในภาพรวม ปัจจัยทัศนคติของลูกค้ามีความสัมพันธ์ทางบวกกับที่มีผลต่อการจัดการลีนของธุรกิจร้านอะไหล่ยนต์ เท่ากับ 0.647 และสามารถทำนายผลต่อการจัดการลีนของธุรกิจร้านอะไหล่ยนต์ ได้ถึงร้อยละ 41.8 (R2 =0.418) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 มีความสัมพันธ์ทางบวกกับที่มีผลต่อการจัดการลีนของธุรกิจร้านอะไหล่ยนต์ เท่ากัน 0.435 สามารถทำนายผลต่อการจัดการลีนของธุรกิจร้านอะไหล่ยนต์ ได้ร้อยละ 19 (R2=0.190)
References
Bhandari, P., Badar, M. A., & Childress, V. (2021). COVID-19 Surge planning in response to global pandemic in a healthcare setting: a lean six sigma approach. In Proceedings of the 11th Int. Conf. on Industrial Engineering and Operations Mgmt, Singapore-Virtual.
Kongyuen, K. (B.E.2557). The Relationship between Lean Management and the Effectiveness of Patient Appointment at Rehabilitation Center in the Golden Jubilee Medical Center under Mahidol University. Thesis, Master of Business Administration, Christian University of Thailand.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. Boston, MA: Pearson.
Loetatsadangkun, N. (B.E.2557). Customer Satisfaction Towards Service Quality of V.N. Auto Body Company Limited, Chiang Mai Province. Independent Study, Master of Business Administration, Chiang Mai University.
McDermott, O., & Jiju, A. (2021). Lean six sigma as an enabler for healthcare operational excellence in COVID-19. 8th International Conference on Lean Six Sigma.
Pratcharacharoenpong, T. (B.E.2554). Factors Affecting Overseas Students’Decisions on Advanced Study in the International Undergraduate Program, in Bangkok Metropolitan Region. Independent Study, Master of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Udomthanasansakul, P. (B.E.2564). The influences of government policies and crisis management on business operation of small and medium enterprises in service sector in Chiang Mai province during the crisis of the COVID-19 epidemic. Journal of Accountancy and Management, 13(2), 75-92.
Yodmanee, P. (B.E.2564). The Impact of COVID-19 on e-commerce business case study of the 4 largest e-commerce companies in the world. Rajamangala University of Technology Tawan-ok Social Science Journal, 10(1), 40-48.
Zhang, B., & Kim, J. H. (2013). Luxury fashion consumption in China: Factors affecting attitude and purchase intent. Journal of Retailing and Consumer Services, 20(1), 68-79.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.